- สมัคร LazPayLater ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง
- สินเชื่อ Shopee SPayLater | ผ่อนของ Shopee ช้อปก่อนจ่ายทีหลัง
- โปรโมชันส่งฟรี Shopee เดือนนี้ ปี 2566
- Xiaomi Mi Speaker 3 ลำโพงบลูทูธตัวละ 249 บาท เสียงดีมาก
- Lazada Electronics แจกคูปอง 350.- คูปองเงินคืน 20% + คูปองส่งฟรี
- LazBEAUTY เครื่องสำอางลดราคา เงินคืนสูงสุด 50%
ในวันนี้เรามีวิธี พักชําระหนี้ทุกธนาคาร มาฝากครับ อย่างที่ทราบว่า ธปท. จับมือสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ตามที่ประกาศในเว็บของ BOT เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน เพื่อลดภาระลูกหนี้ (ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง) ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการของทางการ โดยการ พักชำระหนี้ มีรายละเอียดดังนี้
- พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
- สำหรับลูกหนี้ SMEs และ ลูกหนี้รายย่อย (ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้าง)
- เมื่อหมดระยะพักหนี้ สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที
ลูกหนี้สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 หากลูกหนี้สามารถให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบของกิจการหรือการจ้างงาน จะทำให้การพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยเจ้าหนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว
รวมมาตรการ พักชําระหนี้ทุกธนาคาร
Kbank ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทยขอช่วยแบ่งเบาภาระให้ลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ ด้วยมาตรการพักชำระหนี้เป็นเวลา 2 เดือน
โดยลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้คือ
- ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้าง และลูกจ้างในสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมฯ (10 จังหวัด) รวมถึงลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมฯ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
- ลูกหนี้ไม่เป็น NPL ณ วันที่ลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือ
โดยสามารถลงทะเบียนพักชําระหนี้ Kbank ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2564
- ลูกค้า SME ติดต่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center 02-8888822
- ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ K-Contact Center 02-8888888
- LINE KBank Live https://kbank.co/LINEfriend
กสิกรไทยออกโครงการพิเศษส่งความช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านอาหารรายเล็กและร้านค้ารายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ให้เข้าถึงเงินทุนได้ง่าย ภายใต้โครงการพิเศษ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” อนุมัติง่าย ดอกเบี้ย 3% พักชำระเงินต้น 3 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท ผลักดันให้ร้านอาหารและร้านรายย่อยมีเงินทุนในการทำธุรกิจให้ไปต่อได้ คาดหวังช่วยร้านค้ารายย่อยได้ 35,000 ราย วงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท
SCB ธนาคารไทยพาณิชย์
SCB พร้อมเคียงข้างและยืนหยัดไปกับลูกค้าออกมาตรการพักชําระหนี้ SCB ด้วยมาตรการช่วยเหลือพิเศษ สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ (ตามมาตรการของ ธปท.) โดยทำการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 2 เดือน ทั้งนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ
ลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่ 19 กรกฎาคม 2564 – 15 สิงหาคม 2564 ผ่าน 2 ช่องทาง
1. SCB EASY APP
2. SCB Call Center โทร. 02-777-7777 เลือกเมนูมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าจากสถานการณ์โควิด 19 (กด9)
BBL ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงเทพ จัดมาตรการด่วนตามแนวทางของ ธนาคารแห่งประเทศไทย พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อย แบ่งเบาภาระลูกค้าสินเชื่ออุปโภคบริโภค และบัตรเครดิตที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ
เพื่อป้องกันความเสี่ยง สามารถลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ได้ที่เวปไซต์ของธนาคาร และโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ถึง 15 ส.ค. 2564
สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้ายังคงพร้อมเช่นเดิม จนถึง 31 ธ.ค. 64
สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือ และติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สำนักธุรกิจและสาขาธนาคารทั่วประเทศ และบัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 0 2645 5555
ธนาคารกรุงไทย
สำหรับการกรุงไทย มีให้ครบทุกบริการ มาตรการเร่งด่วนช่วยลูกค้า SME และรายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ พร้อมรวม 7 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าบุคคลและธุรกิจ ช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน
ลูกค้าบุคคล
- มาตรการที่ 1 สินเชื่อที่อยู่อาศัย และ สินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาชำระหนี้ สูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ
พักชำระ เงินต้นและชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน - มาตรการที่ 2 สินเชื่อบุคคล แบบกำหนดระยะเวลา ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม สูงสุด 6 เดือน
- มาตรการที่ 3 สินเชื่อบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียน เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้ แบบกำหนดระยะเวลา 48 งวด
ลูกค้าธุรกิจ
- มาตรการที่ 4 มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ดอกเบี้ยพิเศษ เฉลี่ย 2 ปี ไม่เกิน 2% ต่อปี ผ่อนนาน สูงสุด 10 ปี ค้ำประกัน โดย บสย. สูงสุด 10 ปี
- มาตรการที่ 5 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ
- สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท
- สินเชื่อ Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน หรือ ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 24 เดือน
- สินเชื่อ P/N และ Trade Finance ขยายเวลาชำระหนี้ สูงสุด 6 เดือน
- สำหรับวงเงินกู้ 20-500 ล้านบาท
- สินเชื่อ Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 12 เดือน
- สินเชื่อ P/N และ Trade Finance ขยายเวลาชำระหนี้ สูงสุด 6 เดือน
- สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท
- มาตรการที่ 6 มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ หลักการพิจารณารับโอนทรัพย์ชำระหนี้ และให้สิทธิซื้อทรัพย์คืนในอนาคต* ราคาซื้อคืน = ราคารับโอน + ต้นทุนการถือครองทรัพย์ (Carrying Cost) 1 % ต่อปี + ค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง -ค่าเช่าทรัพย์หลังตีโอนที่ลูกค้าชำระมาแล้ว
- มาตรการที่ 7 โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจธุรกิจไทยมั่นคง ลดการผ่อนชำระตามความสามารถของลูกค้า ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ตามความเหมาะสม เสริมสภาพคล่องตามศักยภาพของลูกค้า
ช่องทางการติดต่อ แจ้งความประสงค์ และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
- ธ.กรุงไทย ทุกสาขา หรือ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน
- Krungthai Contact Center 02-111-1111
- www.krungthai.com/link/covid-19
ธนาคารกรุงศรี
ธนาคารกรุงศรี ช่วยแบ่งเบาภาระให้ลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบตามมาตรการของทางการด้วยมาตรการชะลอการชำระหนี้เป็นเวลา 2 เดือน
โดยลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ได้ ตั้งแต่ วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME โทร 02 2966262 / 02 6262626 หรือติดต่อ เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ (RM)
- ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ Krungsri Call Center 1572
- รายละเอียดเพิ่มเติมและยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการ พักชำระหนี้ธนาคารกรุงศรี ได้เลย
กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลขานรับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เปิดให้ลงทะเบียนเพื่อขอพักชำระหนี้ 2 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด หวังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบ
มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ มีรายละเอียดดังนี้
มาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม:
- มาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 2 รอบบัญชี โดยต้องลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ
สำหรับสมาชิกที่มีบัญชีบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลกับกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ซึ่งมีสถานะบัญชีปกติ และเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของภาครัฐ ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด โดยดอกเบี้ยยังคงคำนวณตามอัตราปกติแบบลดต้นลดดอก ทั้งนี้ สถานะบัญชีของลูกค้าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลง
สามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าวผ่านทางศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ หรือแอปพลิเคชัน UChoose ตั้งแต่ 19 กรกฎาคม ถึง 18 สิงหาคม 2564 โดยจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี
มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อื่น ๆ
มาตรการที่ 1: มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าทุกราย – ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน
- ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชี ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง
- ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชี ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง
มาตรการที่ 2 : มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ – ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ และขยายเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความจำนง และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี
- ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาการผ่อนชำระนานสูงสุด 48 เดือน
- ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล
กรณียอดสินเชื่อคงค้างน้อยกว่า 30,000 บาท รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือเพียง 3%
กรณียอดสินเชื่อคงค้าง 30,000 บาทขึ้นไป รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน
ทั้งนี้ลูกค้าสามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน UChoose ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม – 31 ธันวาคม 2564
มาตรการที่ 3: มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกหนี้ค้างชำระ – ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือน โดยขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และสำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล โดยลูกค้าสามารถแจ้งความจำนงมายังบริษัท
ธนาคารทหารไทยธนชาต TTB
ทีเอ็มบีธนชาต ห่วงใย ขอเป็นส่วนหนึ่งช่วยแบ่งเบาภาระ ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย และลูกค้าสินเชื่อ SME ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการของทางการ ด้วยมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน
ลงทะเบียนพักชําระหนี้ ธนาคารทหารไทยธนชาต TTB ได้ตั้งแต่ 19 ก.ค. – 15 ส.ค. 64 ข้อมูลเพิ่มเติมและช่องทางลงทะเบียนที่ www.ttbbank.com/tang-luk
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ออกมาตรการพักชําระหนี้ 3 เดือน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เริ่ม สิงหาคม – ตุลาคม 2564 รายละเอียดดังนี้
มาตรการที่ 15 [M 15] : พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2564 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้หรือสถานะกฎหมาย
มาตรการที่ 16 [M 16] : พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2564 สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะ NPL (ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน ) หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้
สำหรับดอกเบี้ยที่พักชำระเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในระหว่างการใช้มาตรการที่ 15 และ 16 ลูกค้าสามารถทยอยชำระให้เสร็จสิ้นก่อนวันครบกำหนดสัญญากู้เงิน หรือ ปิดบัญชี โดย ธอส. จะเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนแจ้ง ความประสงค์เข้ามาตรการผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 9.00 น. – วันที่ 29 สิงหาคม 2564 เวลา 20.00 น.
และจะต้อง Upload หลักฐานยืนยันการได้รับผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอพักชำระหนี้ ธอส.
ธนาคารออมสิน
ออมสิน ให้ลูกหนี้รายย่อยจำนวนกว่า 750,000 ราย ได้พักหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย มีผลให้ลูกหนี้ไม่ต้องจ่ายงวด นานสุด 6 เดือน (งวดเดือน ก.ค. – ธ.ค. 64) หวังช่วยลูกหนี้ที่ขาดรายได้ ถูกเลิกจ้าง หรือมีรายได้ลดลง ฯลฯ จากผลกระทบสถานการณ์ระบาดของโควิด 19
มาตรการพักชำระหนี้ลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท และไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน สำหรับผู้ได้รับผลกระทบทำให้ต้องเลิกกิจการ ถูกเลิกจ้าง ขาดรายได้ (ยกเว้นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) โดยพักเงินงวดผ่อนชำระให้สูงสุด 6 งวด เริ่มตั้งแต่งวดเดือนกรกฎาคม-เดือนธันวาคม 2564
หลังจากนั้น เมื่อสิ้นสุดระยะการพักชำระหนี้ ให้กลับมาจ่ายเงินงวดตามเงื่อนไขเดิม โดยเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้พักไว้จะถูกนำไปรวมชำระในงวดสุดท้ายของสัญญาเงินกู้หรือข้อตกลงที่ทำกับธนาคาร
ทั้งนี้ ช่วงระยะเวลาที่พักหนี้ออมสิน ไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระและไม่ส่งผลต่อข้อมูลเครดิตของลูกค้า รวมถึงไม่มีดอกเบี้ยผิดนัดชำระและค่าปรับใดๆ
โดยธนาคารแบ่งความช่วยเหลือเป็น 2 เฟส เริ่มเฟสแรกวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 และเฟสที่ 2 ช่วงเดือนสิงหาคม ลูกค้าจะทยอยได้รับ SMS หรือ Notification แจ้งทางแอป MyMo ให้สามารถกดรับสิทธิเพื่อขอพักชำระหนี้ผ่านแอป MyMo จนเสร็จสิ้นกระบวนการ กรณีที่ลูกค้ายังไม่มีแอป สามารถดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งานด้วยตนเอง หรือติดต่อที่ธนาคารออมสินทุกสาขา
ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมมาตรการ
ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย วงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท ที่ไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน (ยกเว้น ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ)
วิธีการเข้าร่วมมาตรการ
- รอการเปิดสิทธิ์ที่แอป MyMo
- ธนาคารทยอยเปิดสิทธิ์
- เฟสแรก เริ่มวันที่ 25 กรกฎาคม 2564
- เฟสสอง สิงหาคม 2564
- ลูกค้ากดรับสิทธิ์ที่แอป MyMo เท่านั้น
สำหรับลูกค้าไม่มีแอป MyMo ให้ติดต่อที่ธนาคารออมสินทุกสาขา เพื่อเปิดใช้บริการ
ธ.ก.ส.
ธ.ก.ส. พักชำระหนี้ต้นเงินออกไปอีก 6 เดือน ถึง 1 ปี ดูแลเกษตรกรกว่า 2.82 ล้านราย พร้อมสนับสนุนสินเชื่อสู้ภัยโควิด– 19 วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 0.35% ต่อเดือน ปลอดชำระต้นเงิน-ดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รายละไม่เกิน 10,000 บาท โดยมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตร ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 เปิดให้แจ้งความประสงค์แล้วตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคมเป็นต้นไป
ผ่าน 4 ช่องทาง ดังนี้
1. Line Official BAAC Family
2. Call center 02 555 0555
3. http://www.baac.or.th
4. ธ.ก.ส. ทุกสาขา
LH Bank
การพักหนี้ LH Bank จะมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVDI-19 ระยะที่ 3 (สำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL) โดยธนาคารจะพิจารณามาตรการช่วยเหลือเป็นรายกรณีไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและดุลยพินิจตามที่ธนาคารกำหนด
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล
- ลดค่างวดโดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้และคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 22 ต่อปี
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน
- พักชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ
- พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสมของลูกหนี้แต่ละราย
- ลดค่างวดโดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้
โดยธนาคารจะพิจารณามาตรการช่วยเหลือเป็นรายกรณีไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและดุลยพินิจตามที่ธนาคารกำหนด
**มีผลตั้งแต่ ตั้งแต่ 17 พฤษภาคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564 ดูรายละเอียดประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ช่วงพักการชำระค่างวด(เงินต้นและดอกเบี้ย) ดอกเบี้ยยังคงถูกคำนวณตามปกติ