“วัยทอง” คืออะไร? ควรดูแลสุขภาพอย่างไรในช่วงวัยทอง?

วัยทอง - Golden Age cover - ภาพที่ 1

วัยทอง (Golden Age) หมายถึงช่วงชีวิตหลังจากเกษียณอายุงาน ซึ่งมักเรียกว่าวัยสุขภาพดีและร่ำรวย มีอายุระหว่าง 60-70 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงและกำลังสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

วัยทองมักจะมีลักษณะการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากวัยอื่นๆ โดยมักจะมีเวลามากขึ้นสำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดินป่า การเล่นกีฬา การเดินเรือ หรือการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ นอกจากนี้ วัยทองยังมีเวลาสำหรับเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น การเรียนรู้ภาษาใหม่ การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรม

นอกจากนี้ วัยทองยังเป็นช่วงชีวิตที่มีความสำคัญในการสร้างความสุขและความพึงพอใจในชีวิต โดยมักจะมีเวลาสำหรับการอ่านหนังสือ การฝึกสมาธิ การทำสวนหรือเรียนรู้การปลูกพืช การทำกิจกรรมชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่ชอบ เพื่อสร้างความสุขและความเต็มใจในชีวิตแก่ตัวเองและครอบครัว

“วัยทอง” หรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause) คำที่ได้ยินทีไรก็รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ที่ใกล้จะได้จับมือทักทาย ทำความรู้จักกับช่วงชีวิตวัยทอง เพราะไม่ว่าใครก็ต้องคุ้นเคยกับนิยามเกี่ยวกับวัยทองที่ไม่ค่อยจะน่าฟังสักเท่าไหร่ และคำ ๆ นี้ก็มักจะโผล่เข้ามาในบทสนทนาเวลาที่สัมผัสได้ถึงอาการต่าง ๆ อย่างเช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย น้ำหนักขึ้น ฯลฯ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกไปหาคำตอบ “วัยทอง” คืออะไร? และควรดูแลสุขภาพอย่างไรในช่วงวัยทอง?

วัยทอง - unhappy exhausted mature woman with closed eyes lying bed touching temples close up tired female suffering from headache migraine feeling unwell suffering from insomnia lack sleep - ภาพที่ 3

วัยทอง คืออะไร?

ในทางการแพทย์ “วัยทอง” คือภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมสภาพและมีความเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บมากกว่าในช่วงวัยปกติ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน เป็นต้น ซึ่งภาวะวัยทองสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง แต่ในผู้หญิงจะแสดงอาการชัดเจนมากกว่า โดยจะเกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 45 – 55 ปี

ภาวะวัยทองในผู้หญิง หรือ “สตรีวัยทอง” ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มวัยหมดประจำเดือน จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือนอย่างถาวร โดยการสิ้นสุดของประจำเดือนนั้นเกิดจากการที่รังไข่หยุดสร้างฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) นำมาซึ่งอาการต่าง ๆ ที่เราเรียกกันว่า “วัยทอง” เช่น อารมณ์แปรปรวนง่าย น้ำหนักขึ้น มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ

วิธีสังเกตอาการ “วัยทอง”

ในบางกรณี ภาวะวัยทองสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน ซึ่งก็คือช่วงหลายเดือนหรือหลายปีก่อนเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือนอย่างถาวร โดยมักจะมีอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นอาการวัยทองระยะสั้น ดังนี้

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ช่องคลอดแห้ง
  • รู้สึกร้อนวูบวาบ
  • มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • น้ำหนักขึ้น เนื่องมาจากการเผาผลาญที่น้อยลง
  • ผิวแห้ง
  • ผมร่วง

วัยทอง - front view woman with anxiety couch - ภาพที่ 5

ความเสี่ยงในระยะยาวของภาวะวัยทอง

  • การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลาง การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง เคลื่อนไหวช้าลง ความทรงจำเสื่อมถอยลง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยปกติแล้วฮอร์โมนเอสโตรเจนสามารถช่วยลดไขมันไม่ดีในเลือดได้ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง ซึ่งร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จึงทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ง่าย
  • โรคกระดูกพรุน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทองที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน จะส่งผลให้กระดูกเปราะบางเนื่องมาจากการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูก ทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหักง่ายขึ้น เช่น กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง และข้อมือ
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองมักจะมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื่องมาจากการที่เนื้อเยื่อของช่องคลอดและท่อปัสสาวะสูญเสียความยืดหยุ่น ในบางครั้งก็อาจปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดอักเสบ มีอาการแสบและเจ็บ
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดจากการที่ระบบเผาผลาญทำงานน้อยลง

การดูแลสุขภาพในช่วงวัยทอง

  • ตรวจสุขภาพประจำปีในระหว่างและหลังวัยหมดประจำเดือน เช่น ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ตรวจเลือด ตรวจความหนาแน่นของกระดูก เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันและคัดกรองเบื้องต้น
  • ฝึกผ่อนคลายอารมณ์ ผ่อนคลายความเครียดเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเครียดสะสม หากิจกรรมที่ชอบ ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หรือฝึกนั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ เป็นประจำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกระชับช่องคลอด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เนื้อปลา ธัญพืช ผัก ผลไม้
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรืออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
  • หลีกเลี่ยงอบายมุข เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

samitivejhospitals.com, freepik.com

ติดตามเพจ