สสส. ร่วมกับ 16 ภาคีเครือข่ายสุขภาวะทางปัญญา จัดงาน “ตลาดปัญญ์สุข” เปิดพื้นที่ชวนสังคมหาทางออกปัญหา “ใจ” ค้นพบ “ความสุขในโลกอันผันผวน”

สสส. ร่วมกับ 16 ภาคีเครือข่ายสุขภาวะทางปัญญา จัดงาน “ตลาดปัญญ์สุข” เปิดพื้นที่เป็นสื่อกลางชวนคนในสังคมออกเดินทางค้นหาความสุข สัมผัสประสบการณ์ตรงค้นพบ “ความสุขในโลกอันผันผวน” ผ่านกิจกรรมพิเศษเพื่อช่วยเติมรอยยิ้มให้ผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้ เข้าใจ พร้อมเผชิญหน้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเข้มแข็งและรู้เท่าทัน โดยมีไฮไลท์ของงานคือการเปิดตัว หนังสือ “ปัญญาความสุข”

ในโลกอันผันผวน (Spiritual Health for Resilient Society) ที่จัดทำขึ้นในโอกาสที่ สสส. ได้ขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญาร่วมกับภาคีเครือข่าย 12 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา, Peaceful Death, ศูนย์จิตตปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล, หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, ธนาคารจิตอาสา, ชูใจ กะ กัลยาณมิตร, มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม, คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย, ชีวามิตร, มูลนิธิสหธรรมิกชน และ Free Spirit Thailand ซึ่งส่งผลให้เกิดการสร้างสุขในทุกมิติในสังคม

- 343.1500.900 0 - ภาพที่ 1

“ญาณี รัชต์บริรักษ์” รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เล่าถึงบทบาทและความตั้งใจของ สสส. ในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะทางปัญญาเพื่อให้เป็นทางออกของคนในสังคมในปัจจุบันนี้ ว่า “สุขภาวะทางปัญญา (Spiritual Health) หรือจิตสำนึกใหม่ มีความหมายถึงศักยภาพในการเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง มีจิตใจที่มั่นคง นำมาสู่ชีวิตที่สมดุลและมีความสุข เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้อื่นและธรรมชาติ สามารถดูแลตนเอง เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดสังคมที่เกื้อกูล

สำหรับสถานการณ์ขณะนี้ สังคมกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ เราจึงจัดงานวันนี้ขึ้น โดยมีเป้าหมายในการมุ่งสนับสนุนกระบวนการ พื้นที่ เครื่องมืออันหลากหลายให้ผู้คนในสังคมได้เข้าถึงประสบการณ์ตรงในการพัฒนาตนเองให้เกิดความเข้มแข็งทางจิตใจ มีความสามารถในการเยียวยาฟื้นฟูตนเอง ตลอดจนการมีความรู้สึกเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจและพร้อมที่จะแบ่งปันช่วยเหลือกันและกัน มีทัศนคติเชิงบวกและเห็นคุณค่าของชีวิต พร้อมเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทัน”

ด้าน “จารุปภา วะสี” บรรณาธิการหนังสือปัญญาความสุขในโลกอันผันผวน เล่าว่า “งานด้านสุขภาวะทางปัญญาเริ่มต้นโดยมี อ. ประเวศ วะสี เป็นผู้ริเริ่ม และได้ชักชวนคนที่มองเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญมาทำงานร่วมกัน ทั้งจาก ภาคศาสนาคือ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ภาคการศึกษา ภาคคนทำงานด้านสังคม และมี สสส. มาเป็นเจ้าภาพให้ทุนสนับสนุน ช่วยกันทำงานขับเคลื่อนในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

จากนั้นเป็นต้นมาก็ทำงานอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี ภายใต้ความคิดที่ว่า เมื่อโลกมันวิกฤต จะไม่มีทางออกอื่นนอกจากเปลี่ยนจิตสำนึกใหม่ สำหรับหนังสือปัญญาความสุขในโลกอันผันผวน ถือเป็นการสังเคราะห์บทเรียนความสำเร็จจากกระบวนการทำงานหลากหลายรูปแบบในการร่วมขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะทางปัญญาของภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรที่เป็นไปในวิธีและรูปแบบที่แตกต่างกัน

แต่มีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือ การนำพาผู้คนในสังคมให้เข้าถึงประสบการณ์ในการพัฒนาตนสู่การเกิดจิตสำนึกใหม่ ตระหนักว่าเราอยู่บนโลกที่เชื่อมโยงทุกชีวิตไว้ด้วยกัน ควบคู่กับเป้าหมายในการขับเคลื่อนสู่สังคมสุขภาวะผ่านการสนับสนุนพื้นที่แห่งการรับฟัง ส่งเสริมสังคมที่เกื้อกูลบนความแตกต่างหลากหลาย และสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาวะทางปัญญาของคนในสังคมไทย”

- 525.1500.900 1 - ภาพที่ 3

กิจกรรมในงานตลาดปัญญ์สุข ประกอบด้วยกิจกรรมที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อการค้นพบความสุขและเยียวยาจิตใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน อาทิ กิจกรรมพบเพื่อนใจ เกมการ์ดรูปแบบพิเศษเพื่อสำรวจความสุขที่ซ่อนในตัวเอง, กิจกรรมกล่องสุ่มความสุข, Living Will for Leaving Well การวางแผนชีวิตก่อนตายอย่างมีความสุข, การถ่ายภาพ Portrait ข่าวดำ ที่จะทำให้ได้มองเห็นความสุขของตัวเองผ่านภาพถ่าย, บอร์ดเกม A20–Awake To Oneness ฯลฯ

นอกจากนี้ในงานดังกล่าวยังได้รับเกียรติจากคนดังมาร่วมเปิดใจ “คนปัญญ์สุข” แบ่งปันประสบการณ์แรงบันดาลใจการค้นหาความสุขในโลกที่ผันผวน ได้แก่ “ได๋ – ไดอาน่า จงจินตนาการ” นักแสดง-พิธีกร ที่ได้เล่าถึงการแบ่งปันแง่มุมชีวิตแรงบันดาลใจท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่ได้อุทิศตนเป็นจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือผู้คนในช่วงโควิด19 ในตลอดมา และ เซเลบริตี้คนดัง “แพรี่พาย-อมตา จิตตะเสนีย์” บิวตี้บล็อกเกอร์ผู้หันมาค้นพบความสุขจากธรรมชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ถูกโพสต์ หรือเขียนขึ้นโดย: สสส.

ทางทีม Digitalmore ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเขียนข่าวหรือโพสต์ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ เว็บเป็นเพียงสื่อกลาง ที่เปิดให้เจ้าของข่าวประชาสัมพันธ์หรือตัวแทนโดยชอบธรรมได้โพสต์ด้วยตัวเอง

ติดตามเพจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

บันทึก