- สมัคร LazPayLater ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง
- สินเชื่อ Shopee SPayLater | ผ่อนของ Shopee ช้อปก่อนจ่ายทีหลัง
- โปรโมชันส่งฟรี Shopee เดือนนี้ ปี 2566
- Xiaomi Mi Speaker 3 ลำโพงบลูทูธตัวละ 249 บาท เสียงดีมาก
- Lazada Electronics แจกคูปอง 350.- คูปองเงินคืน 20% + คูปองส่งฟรี
- LazBEAUTY เครื่องสำอางลดราคา เงินคืนสูงสุด 50%
เคยไหมที่อยู่ดี ๆ ก็มีเสียงเพลงเพลงหนึ่งดังวนอยู่ในหัวซ้ำไปซ้ำมา ทั้งที่จริง ๆ แล้วเราอาจจะไม่ได้ชอบเพลงนั้นเป็นพิเศษ แต่ไม่รู้ทำไมถึงได้ยินเสียงเพลงนั้นดังอยู่ในหัวตลอดเวลาไปได้!? พยายามจะหยุดคิด สลัดให้หลุด พยายามไปคิดถึงอย่างอื่นแทน ทำได้แค่แป๊บเดียวเสียงเพลงก็กลับมาดังอีก แถมบางทีก็เผลอร้องเพลงนั้นออกมาแบบไม่รู้ตัวด้วย!
ซึ่งอาการเพลงติดหูที่ว่านี้บอกได้เลยว่าไม่ได้มีแค่เราคนเดียวในโลกที่เป็น ถึงแม้จะดูเป็นอาการที่เกิดขึ้นมาเองแบบงง ๆ แต่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นได้ แล้วอาการเพลงติดหูที่ว่านี้คืออะไร? จะแก้ให้หายได้ยังไง? เรามีคำตอบมาให้แล้ว!
อาการเพลงติดหู คืออะไร?
อาการเพลงติดหู (Earworms) หรือ Involuntary Musical Imagery เป็นลักษณะอาการที่ได้ยินเสียงเพลงเดิม ๆ ดังวนเวียนอยู่ในหัวซ้ำไปมา สลัดไม่หลุด แม้จะพยายามคิดเรื่องอื่นแต่ก็กลับมาได้ยินอีก โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นเมื่อได้ฟังเพลงฮิต หรือเพลงที่กำลังมีกระแสในโลกโซเชียล และอาการเพลงติดหูนี้จะหายไปได้เองภายในระยะเวลาไม่นาน
อาการเพลงติดหูมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความจำดี ผู้ที่มีภาวะย้ำคิดย้ำทำ รวมไปถึงผู้ที่มีจิตใจอ่อนไหว ซึ่งโดยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการเพลงติดหูมักไม่รู้สึกว่าได้รับผลกระทบอะไรกับการใช้ชีวิต สามารถรอให้อาการหายไปเองได้ แต่ในบางคนจะรู้สึกรำคาญ ไปจนถึงทำให้นอนไม่หลับ
อาการเพลงติดหู เกิดจากอะไร?
อาการเพลงติดหู เกิดจากการที่สมองพยายามเติมเต็มช่องว่างในส่วนที่ทำหน้าที่รับการได้ยิน (Auditory cortex) เมื่อเราฟังเพลงเดิม ๆ ซ้ำหลายครั้ง สมองจะส่งข้อมูลเสียงที่เราได้ยินไปเก็บไว้ในระบบความจำระยะสั้นที่ Phonological loop ซึ่งอยู่ใน Auditory cortex นั่นเอง
โดยเพลงที่มีแนวโน้มว่าจะกระตุ้นอาการเพลงติดหูก็คือ เพลงที่ฟังล่าสุด เพลงที่ฟังตอนกำลังเครียด เพลงที่ฟังบ่อย ฟังซ้ำ ๆ รวมถึงเพลงที่ทำให้เรานึกถึงเหตุการณ์หรือความทรงจำในอดีต นอกจากนี้ยังมีเพลงในกลุ่มเพลงฮิตในโซเชียล เพลงที่มีดนตรีหรือจังหวะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ รวมไปถึงเพลงที่ร้องง่าย หรือเพลงที่มีท่อนฮุกที่ร้องคำเดิมซ้ำ ๆ ทำให้เราจำได้แค่ท่อนฮุก สมองจึงพยายามหาทางออกจากท่อนฮุกท่อนนั้น ทำให้เราได้ยินเสียงเพลงเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาในหัว เกิดเป็นอาการเพลงติดหู
วิธีแก้อาการเพลงติดหู
- พยายามไม่ฟังเพลงเดิมซ้ำบ่อย ๆ ทั้งเพลงที่ชอบและเพลงฮิตในโซเชียล
- ฟังเพลงให้จบเพื่อเป็นการเติมช่องว่างในสมองให้เต็ม เพราะหากฟังแค่บางท่อนหรือเฉพาะท่อนฮุก จะทำให้เกิดเซกานิกเอฟเฟกต์ (Zeigarnik effect) ส่งผลให้สมองพยายามคิดวนเวียนอยู่แต่กับเพลงนั้น
- หลีกเลี่ยงการฟังเพลงก่อนเข้านอน เพราะอาจเกิดอาการเพลงติดหูจนทำให้นอนไม่หลับได้
- เมื่อมีอาการเพลงติดหูให้เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการทำกิจกรรมอื่นแทน
- เดินให้เร็วขึ้นหรือช้ากว่าจังหวะของเสียงเพลงที่ดังวนอยู่ในหัว เป็นการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายรบกวนหน่วยความจำที่บันทึกจังหวะของเพลงเพื่อหยุดการเล่นซ้ำ
- เคี้ยวหมากฝรั่ง เนื่องจากมีทฤษฎีที่บ่งบอกว่าขณะที่เราขยับขากรรไกรความสามารถทางดนตรีจะลดลง
- อย่าพยายามควบคุมหรือบังคับให้ตัวเองสลัดเพลงออกจากหัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้สลัดเพลงออกไปได้ยากกว่าเดิม
อาการเพลงติดหู ในทางการแพทย์ไม่ถือว่าเป็นโรค และไม่เป็นอันตราย เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถรอให้หายเองได้ แต่สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางสมอง อาการเพลงติดหูอาจทำให้เกิดความเครียดหรือถูกครอบงำทางความคิด และยังอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนและลมชักได้ มักจะพบในผู้ที่มีอาการเพลงติดหูนานเกิน 24 ชั่วโมง โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
samitivejhospitals.com, freepik.com