- สมัคร LazPayLater ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง
- สินเชื่อ Shopee SPayLater | ผ่อนของ Shopee ช้อปก่อนจ่ายทีหลัง
- โปรโมชันส่งฟรี Shopee เดือนนี้ ปี 2566
- Xiaomi Mi Speaker 3 ลำโพงบลูทูธตัวละ 249 บาท เสียงดีมาก
- Lazada Electronics แจกคูปอง 350.- คูปองเงินคืน 20% + คูปองส่งฟรี
- LazBEAUTY เครื่องสำอางลดราคา เงินคืนสูงสุด 50%
ต้องบอกเลยว่าเพลียใจจริง ๆ กับอากาศที่ร้อนจนร่างกายแทบจะละลายหายไปกับแดด ยิ่งเป็นแดดหน้าร้อนในประเทศไทยก็จัดได้ว่าอันตรายระดับนรกแตก ยิ่งถ้าใครไปอยู่กลางแจ้ง หรือต้องเจอแดดแรง ๆ ติดต่อกันนาน ๆ ก็ยิ่งเสี่ยงเป็นอันตรายที่น่ากลัวถึงชีวิต เพราะอากาศร้อนจัดแบบนี้มักจะมาพร้อมกับ “ฮีทสโตรก” ภัยอันตรายที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงหน้าร้อนนั่นเอง
แล้วฮีทสโตรกที่หลายคนพูดถึงคืออะไร? อันตรายมากน้อยแค่ไหน? สำหรับการสุ่มเสี่ยงต่อฮีทสโตรกนั้นสังเกตได้จากอาการอะไรบ้าง? แล้วเราจะมีวิธีป้องกันตัวเองจากฮีทสโตรกได้ยังไง? เรามีคำตอบมาให้แล้ว!
ทำความรู้จัก “ฮีทสโตรก” หรือโรคลมแดด อันตรายที่มากับหน้าร้อน
“ฮีทสโตรก” คืออะไร?
ฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือ โรคลมแดด คือภัยอันตรายที่มักจะมาพร้อมกับหน้าร้อน หรือในบางกรณีก็สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อต้องเจอกับอากาศและแดดที่ร้อนจัด โดยฮีทสโตรกเกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่าปกติ อันเนื่องมาจากการอยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัด ฮีทสโตรกสามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อสมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ และไต และหากไม่ได้รับการรักษาในทันทีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
“ฮีทสโตรก” มีอาการอะไรบ้าง?
- อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น สังเกตได้จากการที่ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศา
- ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ
- หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
- หน้ามืด ปวดศีรษะ
- ความดันโลหิตต่ำ
- อ่อนเพลีย
- รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
วิธีป้องกันฮีทสโตรก
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือการอยู่ท่ามกลางแสงแดด
- งดออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ช่วยระบายอากาศได้ดี และเลือกเสื้อผ้าโทนสีอ่อน เนื้อผ้าบาง
- ใช้ครีมกันแดดค่า SPF 15 ทาแต่พอดีไม่หนาเกินไป
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- ดื่มน้ำระหว่างวันให้มากกว่าปกติ หรืออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
วิธีปฐมพยาบาลผู้ที่มีอาการฮีทสโตรกเบื้องต้น
- รีบนำผู้ที่มีอาการเข้าที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- จัดท่าให้ผู้ที่มีอาการนอนราบ จากนั้นยกเท้าขึ้นสูงทั้งสองข้างเพื่อเพิ่มการไหลเวียน
- ปลดเสื้อผ้าออกให้เหลือน้อยชิ้น รวมถึงคลายชุดชั้นใน
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณซอกคอ หน้าผาก รักแร้ และขาหนีบ พร้อมกับใช้พัดลมเป่าไปด้วย เป็นการช่วยระบายความร้อน
- และลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลง
- หากผู้มีอาการไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
paolohospital.com, freepik.com