- สมัคร LazPayLater ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง
- สินเชื่อ Shopee SPayLater | ผ่อนของ Shopee ช้อปก่อนจ่ายทีหลัง
- โปรโมชันส่งฟรี Shopee เดือนนี้ ปี 2566
- Xiaomi Mi Speaker 3 ลำโพงบลูทูธตัวละ 249 บาท เสียงดีมาก
- Lazada Electronics แจกคูปอง 350.- คูปองเงินคืน 20% + คูปองส่งฟรี
- LazBEAUTY เครื่องสำอางลดราคา เงินคืนสูงสุด 50%
ไม่จำเป็นต้องมีจมูกที่ยื่นยาวออกมาเหมือนพิน็อกคิโอ คนเราก็สามารถพูดโกหกได้อย่างแนบเนียน ซึ่งเมื่อพูดถึงการพูดโกหกเราก็มักจะคุ้นเคยกับการโกหกทั้งด้วยเจตนาที่ดีและไม่ดี หรือที่เรียกกันว่า โกหกขาว และโกหกดำ แม้ว่าการโกหกจะไม่ใช่นิสัยที่น่าชื่นชม แต่ในบางครั้งหรือบางสถานการณ์ เราก็จำเป็นต้องพูดโกหกหรือปกปิดความจริงบางอย่างเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น
หากเป็นการโกหกที่ช่วยกอบกู้สถานการณ์ก็คงจะไม่แปลกอะไร แต่สำหรับบางคนที่พูดโกหกอยู่เป็นนิตย์จนไม่อาจแยกแยะความจริงได้ ในกรณีแบบนี้อาจบอกได้ว่าเป็นอาการของ “โรคหลอกตัวเอง” (Pathological Liar) ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ โรคหลอกตัวเอง โรคที่จะพูดโกหกบ่อยกว่าคนปกติ ไปดูกันว่าสาเหตุของโรคนี้คืออะไร? อาการเป็นยังไง? หากเป็นแล้วจะรักษาให้หายได้ไหม? ตามไปดูกันเลย
โรคหลอกตัวเอง (Pathological Liar)
โรคหลอกตัวเอง ในทางจิตวิทยาเรียกว่า Pathological Liar เป็นอาการผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่ง โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอกตัวเองมักจะมีนิสัยพูดโกหกบ่อยกว่าคนปกติ เริ่มจากการสร้างโลกอีกใบของตัวเองขึ้นมาโดยเข้าใจไปเองว่าเป็นโลกของความจริง และจะยึดติดอยู่กับโลกที่เต็มไปด้วยเรื่องโกหกที่ตัวเองสร้างขึ้นมา ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นพูดหรือเล่าแต่เรื่องโกหกให้คนอื่นเชื่อโดยที่ไม่มีเจตนา ไม่แม้แต่จะรู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังพูดเรื่องโกหกอยู่
สาเหตุของโรคหลอกตัวเอง
ส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคหลอกตัวเองมักจะมีสาเหตุมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงความผิดปกติทางประสาท การมีลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมเลียนแบบ หรืออาจเป็นผลข้างเคียงจากโรคยั้งใจไม่ได้ ในบางกรณีก็อาจเป็นอาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวนได้เช่นกัน
นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ได้อธิบายไว้ว่า สามารถแบ่งอาการของโรคหลอกตัวเองออกเป็น 3 ประเภท คือ
ผู้ป่วยโรคจิตเวช
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตเวชมักจะหลอกตัวเองโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการหลงผิด และไม่มีเจตนาที่จะพูดโกหก แต่ตัวผู้ป่วยจะเข้าใจไปเองว่าเรื่องโกหกทั้งหมดเป็นเรื่องจริง และจะพูดโกหกได้อย่างลื่นไหลเป็นธรรมชาติ ซึ่งส่วนมากแล้วผู้ป่วยประเภทนี้มักจะโกหกแต่เรื่องของตัวเอง และหากมีใครไปขัดหรือแย้งว่าไม่ใช่เรื่องจริงก็จะรู้สึกโกรธหรือไม่พอใจ
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
สาเหตุของโรคซึมเศร้ามักมาจากการพบเจอกับเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจหรือความรู้สึกขั้นรุนแรง ส่งผลให้เกิดเป็นความรู้สึกเจ็บช้ำหรือหวาดกลัวฝังรากลึกอยู่ในจิตใจ โดยผู้ป่วยจะเริ่มสร้างเรื่องราวในมโนภาพของตัวเองขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากความรู้สึกเหล่านั้น และเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น โดยเป็นการหลอกตัวเองให้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง แต่ในใจลึก ๆ ก็ยังคงมีสติรู้ตัวและจดจำความเจ็บปวดของตัวเองได้
ผู้ที่มีปัญหาด้านบุคลิกภาพ
สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านบุคลิกภาพ มักจะมีอาการของโรคหลอกตัวเอง โดยจะชอบพูดโกหกจนติดเป็นนิสัยที่แก้ไม่หาย หากปล่อยไว้นาน ๆ ก็อาจทำให้กลายเป็นคนที่ชอบโกหกอยู่เสมอ และไม่สามารถแก้นิสัยโกหกได้ไปตลอดชีวิต
การรักษาโรคหลอกตัวเอง
โรคหลอกตัวเองสามารถรักษาให้หายได้ โดยต้องอาศัยคนในครอบครัวหรือคนรอบข้างให้คอยว่ากล่าวตักเตือนในกรณีที่ผู้ป่วยยังเป็นเด็ก สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหลอกตัวเองจะใช้วิธีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม โดยการปรับทัศนคติของผู้ป่วยให้ค่อย ๆ กลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางจิตหรือมีความผิดปกติทางร่างกาย อาจต้องใช้ยาในการรักษา
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก