เอบีม คอนซัลติ้ง ชูกลยุทธ์ธุรกิจสีเขียว รับต้นทุนพลังงานสูง

กรุงเทพฯ, 30 มีนาคม 2565 : เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันแบบครบวงจร (DX) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความจำเป็นที่องค์กรธุรกิจควรต้องปรับใช้กลยุทธ์ปฏิรูปสีเขียว (Green Transformation) อันมีสาเหตุมาจากราคาพลังงานโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน อีกทั้งความจำเป็นในการจัดการต้นทุนและการเป็น ‘บริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม’ มีความสำคัญมากขึ้นในยุคสมัยนี้ ทั้งหมดนี้เปรียบเสมือนตัวเร่งให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัว

ตามที่รัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นแถลงในการประชุมสมัชชารัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (UN Climate Change Conference of the Parties: COP 26) ว่าด้วยการยกระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยเป็นร้อยละ 40 พร้อมทั้งมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ในปี พ.ศ. 2593 และปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี พ.ศ.2608 และจากดัชนีความเสี่ยงทางด้านภูมิอากาศ ประเทศไทยถือเป็นประเทศลำดับต้น ๆ ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง 2562 ตลอดจนความความผันผวนของราคาพลังงานโลกที่สูงขึ้น ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงควรแสดงให้เห็นถึงบทบาทการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อประเทศไทย และการร่วมกับประชาคมโลกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ให้ได้

อิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในขณะที่การลดก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคือหน้าที่ของพวกเราทุกคน บริษัทต่าง ๆ สามารถนำร่องการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการนำกลยุทธ์ปฏิรูปสีเขียวมาใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อลดผลกระทบต่อโลก แนวทางการปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เอบีม ขอเป็นกำลังใจและสนับสนุนให้บริษัทไทยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงแผนงานเชิงกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน”

ความท้าทายของบริษัทจำนวนมากคือการหาสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์การจัดการองค์กรและการปฏิรูป
สีเขียว เอบีม คอนซัลติ้ง ร่วมกับ สถาบันด้านการวิจัยของญี่ปุ่น (JRI) ได้เสนอแนะหน้าที่ประการเพื่อเป็นแนวทางให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายการปฏิรูปสีเขียว ดังนี้

กำหนดแผนงานความเป็นกลางของคาร์บอน

การกำหนดแผนงานที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดการปฏิรูปสีเขียวนั้นจำเป็นที่จะต้องสรรหามาตรการลดก๊าซเรือนกระจกหลายรูปแบบและนำมาเรียงลำดับตามความคุ้มค่าทางด้านการลงทุน ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนในมาตรการนั้น ๆ อาจมีความผันผวนตามราคาของพลังงาน ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนในมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในตลาด และแผนงานดังกล่าวจะต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

มาตรการความร่วมมือกับห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ในขณะที่การประสานงานและต้นทุนจะสร้างปัญหาให้กับบริษัทในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน การทำงานร่วมกันระหว่างบริษัททั้งต้นน้ำและปลายน้ำถือเป็นสิ่งจำเป็น และแนวทางการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการสร้างโครงสร้างที่จะช่วยคำนวณอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและตั้งโมเดลมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกบริษัท

แยกตัวออกจากการจัดการข้อมูลตามกฎหมาย
เนื่องจากการจัดการข้อมูลและการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีพื้นฐานตามกฎหมายเท่านั้น ระบบการจัดการข้อมูลองค์กรในปัจจุบันจึงพบปัญหาการจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคต ดังนั้น ขั้นตอนแรกที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปฏิรูปสีเขียว คือการจัดการข้อมูลต้นทุนเพื่อเลือกมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมตามการคาดการณ์ความผันผวนของราคาพลังงาน

การสร้างความยืดหยุ่นด้านอุปสงค์เพื่อสร้างรายได้ใหม่

ในอนาคต การสร้างโมเดลธุรกิจที่จะสร้างรายได้ใหม่ให้กับบริษัทจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุการจัดการองค์กรและเป้าหมายการปฏิรูปสีเขียว ตลอดจนถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงจำเป็นต้องมองเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2608 ทั้งในแง่ของความเสี่ยงสำหรับการจัดการองค์กรและโอกาสทางธุรกิจ และหมั่นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและทรัพย์สินของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ

“บริษัทไทยเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการใช้แผนการปฏิบัติการเชิงรุกในแง่ของการปฏิรูปสีเขียว และคอยจับตาดูแนวโน้มนโยบายและความท้าทายอย่างใกล้ชิด เอบีม คอนซัลติ้ง ได้มีโอกาสร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าของเราในประเทศญี่ปุ่นเพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ และเราหวังว่าบริษัทในประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์แบบเดียวกันจากประสบการณ์และคำแนะนำของเอบีม” ฮิชิโร ฮาระ กล่าวเสริม

จากผลการสำรวจของ เอบีม คอนซัลติ้ง และ สถาบันด้านการวิจัยของญี่ปุ่นในหมู่ผู้นำทางด้านธุรกิจในญี่ปุ่น พบว่า ในขณะที่บริษัทมากกว่า 70% ในญี่ปุ่นมีความประสงค์ที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางด้านคาร์บอน แต่มีเพียง 16% เท่านั้นที่ได้จัดทำแผนงานที่ชัดเจนสำหรับเป้าหมายนี้

- 2 1 - ภาพที่ 1

นอกจากนี้ บริษัทน้อยกว่า 15% ได้มีการเก็บข้อมูลต้นทุนพลังงานแบบละเอียด เช่น ข้อมูลราคาต่อหน่วยตามสัญญา ข้อมูลพลังงานหมุนเวียน ต้นทุนการปรับเชื้อเพลิงและวัตถุดิบ และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการคาดการณ์ราคาพลังงานในอนาคต

- unnamed file 0 - ภาพที่ 3

เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) พร้อมสนับสนุน และให้คำปรึกษาในการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันเพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายสู่การเป็น “องค์กรสีเขียว” และสามารถดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม โดยทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจนสามารถบรรลุตามเจตนารมณ์ที่ประเทศไทยได้ประกาศไว้ในการประชุม COP 26