โรงพยาบาลพระรามเก้า ผนึกกำลัง ผู้นำเทคโนโลยีสุดล้ำจากเกาหลี ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีระบบการแพทย์ทางไกล พลิกวงการแพทย์ไทย สู่ Digital Healthcare ยกโรงพยาบาลมาไว้ที่บ้าน

Lazada

โรงพยาบาลพระรามเก้า สถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของเมืองไทย ที่มีความพร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยและยอดเยี่ยม ร่วมผนึกกำลังกับ บริษัท เนเวอร์ คลาวด์ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (Naver Cloud Corp.,) ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (Cloud Service Provider หรือ CSP) ระดับแนวหน้าของเกาหลีใต้ พร้อมลงนามให้ความร่วมมืออย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระหว่างเกาหลี – ไทย นำเทคโนโลยีอัจฉริยะด้านสุขภาพที่ล้ำหน้าที่สุด หนุนการบริการแบบ Decentralized Healthcare ยกโรงพยาบาลมาไว้ที่บ้าน มั่นใจพลิกวงการแพทย์ไทย สู่ Digital Healthcare พร้อมก้าวสู่ความเป็นเลิศระดับอาเซียนในอนาคต

- pr9digitalhealthcare01 0 - ภาพที่ 1

นายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า “ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจและสังคมคนเมืองมีมากขึ้น การแข่งขันส่งผลให้กลุ่มคนปัจจุบันเกิดภาวะการเจ็บป่วยที่หลากหลาย สอดรับกับในยุคดิจิทัลคนไข้ส่วนใหญ่เลือกที่จะทำการสื่อสารกับทางโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลในช่องทางดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลพระรามเก้าเอง ได้มีการทรานส์ฟอร์มนำดิจิทัลเข้ามาใช้ในระยะหนึ่งและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ครอบคลุมสู่การเป็น Digital Hospital เต็มรูปแบบแล้วในปีนี้ มีการวางยุทธศาสตร์ด้วยการทำ Digital Transformation ปรับวัฒนธรรมองค์กรใหม่ พร้อมจับมือพันธมิตรด้านเทคโนโลยี ร่วมสร้างบริการทางการแพทย์ในทุกมิติ

- pr9digitalhealthcare04 1 - ภาพที่ 3

สำหรับการผนึกกำลังในครั้งนี้ ถือเป็นการประกาศการแลกเปลี่ยนความรู้และกลยุทธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างเป็นทางการของเกาหลี – ไทย ระหว่าง โรงพยาบาลพระรามเก้า ในฐานะองค์กรอันเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ชั้นนำในประเทศไทยที่มีประสบการณ์เป็นเลิศด้านการแพทย์ ผสานความเชี่ยวชาญและความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีสุดล้ำ โดย บริษัท เนเวอร์ คลาวด์ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (Naver Cloud Corp.,) ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (Cloud Service Provider หรือ CSP) ระดับแนวหน้าของเกาหลีใต้ ก่อให้เกิดเทคโนโลยีอัจฉริยะด้านสุขภาพที่ล้ำหน้าที่สุด เพื่อใช้ในการพัฒนาการแพทย์ทางไกล หรือ Decentralized Healthcare”

ด้าน รศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน และที่ปรึกษาศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์โรงพยาบาลพระรามเก้า (Praram9V) อธิบายว่า “ปัจจุบันโรงพยาบาลพระรามเก้าได้มีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการให้บริการในรูปแบบ Decentralized Healthcare เพราะเชื่อว่าการบริการเริ่มต้นได้จากที่บ้าน หรือ ทุกที่ ทุกเวลา ตามความสะดวกของผู้รับบริการ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังโรงพยาบาล โดยศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์โรงพยาบาลพระรามเก้า (Praram9V) จะมีแพทย์ และพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้รับบริการ ได้รับการปรึกษาแพทย์ รักษา และดูแลสุขภาพแม้ไม่เจ็บป่วย เช่น บริการ Telemedicine สำหรับปรึกษาแพทย์ ได้แบบ Real-time และคนไข้จะได้รับยาส่งถึงที่บ้าน โดยมีทีมเภสัชกร ที่มากด้วยประสบการณ์ โทรอธิบายให้ความรู้เรื่องการใช้ยา เหมือนกับคนไข้เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาล รวมทั้งยังขยายการให้บริการไปคลินิกนอกโรงพยาบาลของโรงพยาบาลพระรามเก้า เพื่อความสะดวกของผู้รับบริการอีกด้วย

นอกจากนี้ ศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์โรงพยาบาลพระรามเก้า ยังมีบริการ Smart healthcare services โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย เชื่อมต่อข้อมูลมายังโรงพยาบาลเป็นตัวช่วยแพทย์ในการดูแลคนไข้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถดูแลติดตามอาการ เช่น การติดตามระดับน้ำตาล ด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน CGMS ที่สามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลได้แบบต่อเนื่องตลอดเวลา และส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือได้แบบ Real-time ช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ และยังส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมายังแพทย์และทีมงานสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาล เช่น พยาบาล และนักโภชนาการ เพื่อช่วยวางแผนการรักษาให้กับผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม”

นายแพทย์อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวเสริมว่า “โรงพยาบาลพระรามเก้า มีแผนการทำ Decentralized Healthcare และ Digital Transformation เต็มรูปแบบ มุ่งเน้นเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและนวัตกรรม โดยปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ใน 2 เฟส ได้แก่ เฟสแรก Digitization หรือการแปลงข้อมูลกระดาษไปสู่ข้อมูลดิจิทัล และ เฟส 2 การทำ Digitalization หรือการปรับกระบวนการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบระบบ เช่น การออกแบบระบบการให้บริการวัคซีนโควิดแบบครบวงจรตั้งแต่การซื้อขาย นัดหมาย ไปจนถึงการได้รับใบรับรองในระบบหมอพร้อม, การพัฒนาระบบบริหารจัดการคิวที่ผู้รับบริการ สามารถกดจองคิวได้ด้วยตนเอง , ระบบเปิดประวัติผู้ป่วยใหม่ออนไลน์ที่ผู้รับบริการสามารถเปิดประวัติได้เองที่บ้าน

โดยในอนาคตทางโรงพยาบาลจะพัฒนาระบบ Self-care เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพก่อนเกิดโรค อีกทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการทางการแพทย์ เพื่อความแม่นยำปลอดภัย และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การใช้ AI มาช่วยประมวลผลข้อมูลการแพทย์, การใช้เครื่องมือ Marketing Technology มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้รับบริการให้ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล (Personalized)

และ สำหรับ เฟสที่ 3 จะเป็นเฟสของการทำ Digital Transformation มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง การมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร ผ่านวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่เราเรียกกันว่า “CAT Culture” คือ Collaborations, Agility และ Trust เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมีเป้าหมายเดียวกัน พร้อมสร้างผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพให้ตอบโจทย์ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น นพ.อนุวัตร กล่าวทิ้งท้าย