AIS จับมือ ม.สงขลานครินทร์ เดินหน้าทดลอง ทดสอบ 5G ครั้งแรกในภาคใต้

Lazada

เอไอเอส โดยนายมหัณณพ อภินันทนพงศ์ หัวหน้าส่วนงานปฎิบัติการภูมิภาค-ภาคใต้ และสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (มอ.) โดย ผศ.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ พร้อมทีมนักพัฒนา นำโดย ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยงสขลานครินทร์ จับมือทดลอง ทดสอบเทคโนโลยี 5G ครั้งแรกในภาคใต้

- AIS5G 00003 - ภาพที่ 1

ด้วยแนวคิด “Smart City, Smart Living” สร้างโมเดลสมาร์ทซิตี้ครั้งแรกในไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของภาคใต้ในการพัฒนานวัตกรรม และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่กำลังจะมาในอนาคต อาทิ 5G, IoT และโซลูชั่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษา นักพัฒนา และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบเทคโนโลยีแห่งอนาคต

AIS ผนึก 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำครบทุกภาคทั่วไทย ศึกษาวิจัย 5G

- AIS5G 00002 - ภาพที่ 3

โดยการลงพื้นที่ภาคใต้ครั้งนี้ เอไอเอสและมอ.ได้นำ 5G Use Case และ IoT Device มาทดลอง ทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง บนคลื่นความถี่ 28 GHz เพื่อทดสอบศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ใน 3 คุณสมบัติหลัก คือ ความเร็วที่เหนือระดับไปอีกขั้น, เครือข่ายที่ตอบสนองรวดเร็วและเสถียร (Latency) รวมถึงศักยภาพในการขยายการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ หรือ IoT ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างโมเดลเมืองอัจฉริยะ รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายและมีความปลอดภัย

- AIS5G 00001 - ภาพที่ 5

โดยมี Use Case เริ่มต้น ประกอบด้วย

1. นวัตกรรม Mobile Surveillance: นวัตกรรมเพื่อการตรวจตราและรักษาความปลอดภัยจาก Video Analytics และ AI ได้แบบเรียลไทม์ ด้วยการนำข้อมูลวิดีโอจากกล้องวงจรปิดบนยานพาหนะส่งต่อผ่านเครือข่าย 5G ที่จะสามารถวิเคราะห์ภาพจำแนกวัตถุรอบคันรถ, วิเคราะห์ความพร้อมของผู้ขับขี่ และการแจ้งเตือนความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. นวัตกรรม Object Detection: นวัตกรรมจับวัตถุที่เคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำ ผ่าน 5G อาทิ ตรวจจับรถยนต์หรือบุคคลต้องสงสัย โดยข้อมูลจะแสดงผลเรียลไทม์ที่ War Room ของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่ตำรวจแจ้งลักษณะบุคคลและรถต้องสงสัยเข้ามา ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยก็จะสามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวของรถหรือคนร้ายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้น

3. นวัตกรรม EV Autonomous: นวัตกรรมการสื่อสารระหว่างรถ EV ต่อรถ EV ผ่านเครือข่าย 5G ครั้งแรกของไทย (Vehicle to Vehicle communication system) ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง มีความหน่วงต่ำ และระบบมีความเสถียรมาก ทำให้รถยนต์สามารถสื่อสารข้อมูลการขับขี่ ข้อมูลความปลอดภัย และข้อมูลการจราจรไปมาระหว่างกันเองได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้คนขับ ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงป้องกันการจราจรติดขัดในเส้นทาง

จากการทดลอง ทดสอบครั้งนี้ จะทำให้ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหรรม และผู้เกี่ยวข้องใน 5G Ecosystem เห็นภาพของประโยชน์ของ 5G ในหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาได้มีโอกาสพัฒนา Innovation Idea อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึง ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน