ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็กๆ ด้วย 2 การทดลองภายในบ้าน

Lazada

ประเทศไทย, 11 พฤศจิกายน 2564 – โลกรอบตัวเราล้อมรอบด้วยสิ่งมหัศจรรย์ที่น่าตื่นเต้นของวิทยาศาสตร์ เมื่อโตขึ้น ไม่ว่าเราจะโหนตัวอยู่บนบาร์ลิง ผสมสีสำหรับโปรเจกต์ศิลปะ หรือแม้แต่พูดคุยกับเพื่อนสนิทของเราโดยใช้โทรศัพท์ถ้วยกระดาษที่ติดอยู่กับเชือก สิ่งนี้คือคำอธิบายของวิทยาศาสตร์ที่บ่งบอกว่าช่วงเวลาที่ ‘วิเศษ’ เหล่านี้เป็นไปได้อย่างไร

เนื่องจากเด็กยังไม่รู้ว่าพวกเขาไม่รู้อะไรบ้าง ดังนั้น การอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังความสุขเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ที่เติมความรู้ให้แก่เด็กๆ ทั้งหลายจึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ให้การศึกษา นอกจากนี้ ยังช่วยให้พวกเขารู้สึกอยากรู้อยากเห็นไปพร้อมๆ กับคำถามมากมายเกี่ยวกับโลก แม้ว่าการระบาดใหญ่จะทำให้พวกเขาจะติดอยู่ที่บ้านก็ตาม

ทุกวันนี้ เราเห็นคนที่อายุน้อยให้ความสำคัญต่อวิชาวิทยาศาสตร์และสะเต็ม (STEM หรือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) มากขึ้น ในปีนี้ดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ของ 3เอ็ม (State of Science Index – SOSI) ซึ่งเป็นงานวิจัยประจำปีขององค์กรทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกอย่าง 3เอ็ม ได้เปิดเผยว่า ประชาชนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกถึง 73% เห็นด้วยว่าคนอายุน้อยมีส่วนร่วมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากกว่าที่เคยเป็นมา (เทียบกับ 69% ทั่วโลก)

ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าวิทยาศาสตร์ยังอยู่ในความสนใจของเยาวชน เราต้องส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและสนับสนุนให้พวกเขาได้ส่องแสงของความเป็นนักวิทยาศาสตร์ผ่าน 2 การทดลองง่ายๆ ที่บ้าน โดยคุณสามารถช่วยส่งเสริมการเติบโตของสะเต็มได้โดยการกระตุ้นความคิดของบุตรหลานพร้อมสร้างความสนุกสนานระหว่างการทำการทดลอง

เนื่องจากกิจกรรมด้านล่างเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลจากผู้ปกครอง ดังนั้น อย่าลืมลองทดสอบด้วยตัวเองก่อนที่จะลงมือทำไปพร้อมกับนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยของคุณ

หลักการแบร์นูลลีอันโด่งดัง

- 1. Bernoullis Principle - ภาพที่ 1

นกบินได้อย่างไร? เครื่องบินอยู่ในเที่ยวบินได้อย่างไร?

อุปกรณ์ที่จำเป็น: ลูกปิงปอง เครื่องเป่าผม กระดาษน้ำตาลและเทป

เพื่อตอบคำถามที่คุณหรือบุตรหลานของคุณอาจสงสัย เรามาทำการทดลองง่ายๆ กัน:

  1. สร้างเครื่องยิงลูกปิงปองด้วยกระดาษสามแผ่น ขั้นแรก ม้วนกระดาษแผ่นแรกเพื่อทำท่อและใช้เทปยึดให้เข้าที่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่อนั้นมีขนาดใหญ่เพียงพอที่สามารถให้ลูกปิงปองทะลุผ่านได้ง่าย ทำขั้นตอนนี้ซ้ำอีกรอบสำหรับกระดาษแผ่นที่สองเพื่อให้แน่ใจว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อทั้งสองมีขนาดเท่ากัน
  2. ก่อนประกอบม้วนกระดาษทั้งสองหลอดเข้าด้วยกัน ให้เจาะรูเล็กๆ ตรงกลางหลอดกระดาษอันใดอันหนึ่ง ย้ำอีกครั้งว่ารูต้องใหญ่พอที่ลูกปิงปองจะทะลุผ่านได้ง่าย เมื่อเสร็จแล้ว ให้พันเทปกระดาษทั้งสองเข้าด้วยกัน
  3. ตัดกระดาษแผ่นสุดท้ายครึ่งหนึ่งเพื่อทำท่อที่สั้นกว่าซึ่งจะสอดเข้าไปในรูตรงกลาง ในการทำให้พอดีกับรูคุณจะต้องตัดเส้นโค้งออกจากปลายด้านหนึ่งของท่อ ลองมองผ่านรูในท่อที่สั้นกว่าเพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถมองเห็นได้ตลอดทาง หลังจากนั้น ติดเทปให้แน่นและตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีรูระบายอากาศที่มองเห็นได้
  4. จากนั้นติดเทปที่ปล่อยลูกปิงปองกับโต๊ะเพื่อให้อยู่กับที่ หรือให้คนอื่นช่วยจับระหว่างการทดลอง

ตอนนี้ วางเครื่องเป่าผมไว้ที่ปลายท่อด้านหนึ่งแล้วเปิดเครื่อง เครื่องเป่าผมจะสร้างกระแสลมแรงดันต่ำภายในท่อยาว จากนั้นวางลูกปิงปองที่ปลายด้านของท่อที่สั้นกว่า และดูว่าแรงดันอากาศภายในท่อสามารถทำให้ลูกปิงปองถูกดึงเข้าจากด้านข้างและผลักออกจากอีกด้านหนึ่งได้อย่างไร

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดลองนี้ได้ที่เว็บไซต์ 3M Science at Home

ระเบิดด้วยจรวดกระดาษ

- 2. Paper Rocket - ภาพที่ 3

การเตรียมบุตรหลานของเราให้พร้อมสำหรับช่วงชีวิตที่แตกต่างกันอาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่ลองย้อนกลับไปและสนุกกับเวลาที่เรามีร่วมกับจรวดวิทยาศาสตร์ที่ทำขึ้นจากกระดาษ

อุปกรณ์ที่จำเป็น: กระดาษ 2 แผ่น กรรไกร หลอดดูดน้ำ และเทป

ในทางวิทยาศาสตร์ เราเรียนรู้ว่าตัวแปรอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ของการทดลอง มาดูกันว่าการออกแบบต่างๆ จะเปลี่ยนวิธีการขับเคลื่อนจรวดของคุณได้อย่างไร:

  1. พับกระดาษเป็นสี่ส่วนแล้วตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ
  2. นำกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ มาม้วนรอบหลอดเพื่อทำเป็นหลอดโดยไม่ให้แน่นเกินไป ติดเทปที่ท่อที่คุณทำไว้เพื่อให้ม้วนอยู่ได้
  3. ถัดไป บีบและปิดปลายท่อด้านหนึ่งเพื่อทำจมูกของจรวด
  4. ใช้กระดาษสี่เหลี่ยมเล็กๆ อีกแผ่นหนึ่ง ตัดสามเหลี่ยมมุมฉากเพื่อทำครีบก่อนติดเทปลงบนท่อ
  5. ทำขั้นตอนเดิมซ้ำอีกรอบ เพื่อสร้างจรวดสองสามตัวที่มีความยาวท่อต่างกันและ/หรือจำนวนครีบต่างกัน

วางจรวดบนหลอดแล้วเป่าให้ระเบิด! เมื่อคุณทำการทดลอง คุณจะเห็นได้ว่าว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบของจรวดบางอย่างสามารถสร้างความแตกต่างได้มากกว่าแบบอื่นๆ ลองออกแบบจรวดที่สามารถพุ่งไปได้ไกลที่สุดหรือบินได้อย่างแม่นยำที่สุด

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดลองนี้ได้ที่เว็บไซต์ 3M Science at Home

ค้นหาว่านักวิทยาศาสตร์ของ 3เอ็ม กำลังแบ่งปันการทดลองใดบ้างโดยดูวิดีโอที่ วิทยาศาสตร์ที่บ้าน หวังว่าการทดลองเหล่านี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้บุตรหลานของคุณและจุดประกายความหลงใหลในวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ของพวกเขา