“ดีแทค ทิ้งให้ดี” จับมือ SMART ชวนลูกบ้านโครงการจัดสรรภายใต้การดูแลมากกว่า 300 โครงการทั่วกรุงเทพฯ รีไซเคิลซากมือถือ อุปกรณ์เสริมเก่า และขยะอิเล็กทรอนิกส์ พิชิตเป้าหมาย ZERO Landfill

Lazada

- 01 dtacThinkHaiD - ภาพที่ 1

การระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตและอุปกรณ์มือถือต่อคนต่อครัวเรือนสูงขึ้น ผ่านวิถีใหม่ทำงานและเรียนที่บ้าน ปัจจุบัน เฉลี่ยต่อคนจะมีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 5 ชิ้น มีเลขหมายที่ใช้ในไทยกว่า 142 ล้านเลขหมาย โดย 45 ล้านเลขหมายใช้กับอุปกรณ์ไอที และ 97 ล้านเลขหมายใช้กับสมาร์ทโฟน

“ดีแทค ทิ้งให้ดี” จึงร่วมมือกับ SMART ผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรรกว่า 300 โครงการทั่วกรุงเทพฯ จัดแคมเปญ SMART “A Love To Give” รับบริจาคสิ่งของเหลือใช้ ครั้งใหญ่ภายในโครงการที่ดูแลให้กับภาคีต่างๆ รวมถึง ดีแทค ที่รับซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ซึ่งรวมถึง มือถือเก่า และอุปกรณ์เสริมที่เสื่อมสภาพ เพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ไม่เหลือเศษซากที่จะนำไปทิ้งด้วยกันฝังกลบได้อีก หรือ Zero Landfill

- 05 dtacThinkHaiD - ภาพที่ 3

 

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคกำหนดเป้าหมายที่จะจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทมือถือและอุปกรณ์เสริม ซึ่งเป็นผลพวงจากการทำธุรกิจให้บริการด้านโทรคมนาคมของเราอย่างจริงจัง ผมจึงขอเชิญชวนลูกบ้านทุกท่านที่เห็นสัญลักษณ์ ดีแทค ทิ้งให้ดี ได้นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ในบ้านทุกประเภท มาทิ้งกับเรา

ซึ่งท่านสามารถไว้วางใจได้ว่า ขยะทุกชิ้นจะได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง โดยผู้ให้บริการการจัดการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2555 ดีแทคได้ร่วมกับพาร์ทเนอร์รับและจัดการกับซากมือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปแล้วถึง 2 ล้านชิ้น ช่วยลดคาร์บอนได้รวม 32 ล้านกิโลคาร์บอน เรากำหนดจะขยายจุดรับสู่กลุ่มอสังหาฯ หลังจำนวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พุ่งช่วงโควิด หวังช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2% จากตลาดมือถือ 20.9 ล้านเครื่อง*”

- 02 dtacThinkHaiD - ภาพที่ 5

- 03 dtacThinkHaiD - ภาพที่ 7

วิธีการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ของ ดีแทค ทิ้งให้ดี เริ่มต้นด้วยการทำลายหน่วยความจำในตัวเครื่อง ลบข้อมูลถึง 3 รอบ และเขียนข้อมูทลทับอีก 1 รอบ ด้วยมาตรฐาน NIST 800-88R1ซึ่งเป็นมาตรฐานการกำจัดข้อมูลที่ใช้มากที่สุดทั่วโลก จากนั้น จะเข้าสู่กระบวนการแยกชิ้นส่วน ซึ่งทำได้แล้ว 96% ยังเหลืออีก 4% ที่ต้องนำไปผ่านกระบวนการพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดสารพิษต่อสิ่งแวดล้อม

สอดคล้องกับเทรนด์โลกสู่ Circular Economy รูปแบบการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีแทค มี 2 วิธีหลัก คือ การนำกลับมาใช้ในตลาดอื่น (Remarket) โดยนำเครื่องที่หน้าร้าน หรือ demo ที่ยังสามารถใช้งานได้ไปจำหน่ายให้กับผู้ที่ต้องการใช้ราคาประหยัด และการรีไซเคิล (Recycle) สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพแล้ว

- 04 dtacThinkHaiD - ภาพที่ 9

นายสุวัฒน์ กุลไพจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร กล่าวเสริมว่า “ดีแทค เป็นหนึ่งในพันธมิตรภายใต้แคมเปญ SMART – A love To Give ของ SMART ที่จัดให้ลูกบ้านกว่า 300 โครงการ นำของที่ไม่ใช้แล้ว มาบริจาคไปตามองค์กรต่างๆ โดยดีแทคเข้ามาสนับสนุนในการนำของอิเล็กทรอนิกส์ที่เหลือใช้ของลูกบ้านไปทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและนำกลับเข้าระบบเพื่อบริหารจัดการอย่างถูกวิธีต่อไป”

SMART ไม่ได้เป็นเพียงบริษัทที่รับบริหารนิติบุคคลที่ดูแลแค่พื้นที่ส่วนกลางเท่านั้น เรายังดูแลครอบคลุมไปถึงการใช้ชีวิตของลูกบ้านในทุกๆโครงการ เพื่อให้ลูกบ้านอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เราให้ความสำคัญกับการทำ Sustainability ในส่วนที่สามารถทำได้ และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกบ้านของ SMART เสมอมา จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้โครงการ SMART – A Love to Give และรวมถึงโครงการรักษ์โลกอย่าง SMART Eco Caring Community ของเราประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง