สำเร็จไปอีกขั้น! Funding Societies ระดมเงินทุน 294 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขยายธุรกิจ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

- Funding Societies - ภาพที่ 1

(จากซ้ายไปขวา): เคลวิน เตียว ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของเครือบริษัท Funding Societies | Modalku วารุณ บันดารี ผู้บริหารสูงสุดประจำ Funding Societies ประเทศไทย

Funding Societies (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Modalku ในประเทศอินโดนีเซีย) เป็นแพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัลสำหรับ SME ขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศระดมเงินทุนหุ้นสำเร็จ* จำนวน 144 ล้านเหรียญสหรัฐในหุ้นประเภท Series C+ ซึ่งมีการจองซื้อเกินกว่าจำนวนที่เสนอขาย(over subscription) นำโดย SoftBank Vision Fund 2 ร่วมด้วยนักลงทุนรายใหม่ ได้แก่ VNG Corporation ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของเวียดนาม, Rapyd Ventures, EDBI ซึ่งเป็นนักลงทุนระดับโลกในเอเชีย, Indies Capital, K3 Ventures และ Ascend Vietnam Ventures ซึ่งบริษัททั้งหมดที่กล่าวมาเป็นบริษัทในต่างประเทศทั้งหมด

และได้รับวงเงินกู้ยืมอีก 150 ล้านเหรียญสหรัฐ จากสถาบันสินเชื่อต่าง ๆ ในยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชีย ซึ่งได้มีการใช้เงินที่ได้รับดังกล่าวเพื่อปล่อยเงินทุนแบบวงเงินกู้ยืมนี้ให้แก่ MSMEs ไปแล้วตั้งแต่ต้นปี 2564 การระดมทุนทั้งแบบธุรกรรมการซื้อขายหุ้นและวงเงินกู้ยืมในรอบ Series C+ นี้ เกิดขึ้นทันทีหลังจากการระดม Series C มูลค่า 45 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 ถึง 2564 เงินทุนต่างๆ ที่ได้รับทำให้ Funding Societies กลายเป็นผู้นำตลาดด้านเงินทุนดิจิทัลที่แข็งแกร่งมากขึ้น

และเป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนบริการอื่นเช่น การบริหารค่าใช้จ่าย และบริการชำระเงินแบบ B2B สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การระดมทุนครั้งนี้ยังทำให้บริษัทฯ สามารถซื้อคืนหุ้นจากอดีตพนักงานและพนักงานปัจจุบันที่ได้รับการแจกจ่ายหุ้นภายใต้ Employee Stock Option Plan ของบริษัทฯ หากพนักงานดังกล่าวมีความประสงค์ขายหุ้นคืน โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 16 ล้านเหรียญสหรัฐ

- Funding Societies - ภาพที่ 3

Funding Societies ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 โดยเคลวิน เตียว (Kelvin Teo) และเรย์โนลด์ วิจายา (Reynold Wijaya) ขณะศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อส่งเสริม MSMEs ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทฯช่วยแก้ปัญหาจุดอ่อนทางธุรกิจที่สำคัญให้กับ MSMEs เพื่อสร้างการเติบโต โดยเริ่มจากช่องว่างทางการเงินจำนวน 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐในภูมิภาค แม้ว่าวิสาหกิจขนาดย่อมจะมีสัดส่วนเกือบ 99% ของวิสาหกิจทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่วิสาหกิจเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายในการขอเงินทุนเพื่อธุรกิจจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมเนื่องจากไม่มีประวัติด้านเครดิตหรือไม่สามารถให้หลักประกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ Funding Societies จึงได้นำเสนอเงินทุนขนาดย่อยตั้งแต่ 500 เหรียญสหรัฐจนถึง 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสามารถขอเบิกได้ภายใน 24 ชั่วโมง วิธีการดังกล่าวสามารถตอบสนองต่อ MSMEs ที่เผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงเงินทุนเพื่อธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

Funding Societies เลือกที่จะไม่ใช้การเข้าถึงบริการทางการเงินตามแนวทางห่วงโซ่อุปทานขององค์กรแบบเดิม ๆ แต่สร้างความแตกต่างด้วยการเป็นร้านค้าแบบครบวงจรในการจัดหาเงินทุนสำหรับ SME แทน โดยนำเสนอรูปแบบสินเชื่อที่ใช้เทคโนโลยี AI และผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับธุรกิจที่ขาดโอกาสทางการเงิน งานศึกษาด้านผลกระทบครั้งล่าสุด** พบว่า จากการคำนวณโดยใช้ระเบียบวิธีของธนาคารพัฒนาเอเชีย MSMEs ที่ Funding Societies ให้การสนับสนุนเงินทุนสร้าง GDP อยู่ที่ 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

จากการดำเนินธุรกิจเป็นเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน บริษัทฯได้รับใบอนุญาตทำธุรกิจในสี่ประเทศทั่วภูมิภาค ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และยังมีการดำเนินงานในประเทศเวียดนามอีกด้วย จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯได้จัดสรรเงินทุนมากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐให้เป็นเงินทุนเพื่อธุรกิจแก่ MSMEs ผ่านธุรกรรมมากกว่า 4.9 ล้านรายการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วารุณ บันดารี (Varun Bhandari) ผู้บริหารสูงสุดประจำ Funding Societies ประเทศไทย กล่าวว่า “MSMEs ถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจไทย มีส่วนช่วยสร้าง GDP กว่า 40% และสร้างการจ้างงานมากถึง 80% ของการจ้างงานทั้งหมด เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ผู้ถือหุ้นให้ความไว้วางใจเราอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า รูปแบบธุรกิจของเราเป็นแพลตฟอร์มเงินทุนระดับชั้นนำสำหรับบรรดา SME ในภูมิภาค เรามุ่งมั่นที่จะเดินหน้าผลักดันให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างต่อเนื่อง และด้วยการระดมเงินทุนครั้งล่าสุดนี้ Funding Societies ก้าวข้ามการให้สินเชื่อแก่ SME สู่การเป็นธนาคารดิจิทัล (neobanking) และบัตรเครดิตเสมือนจริง (Virtual Credit) ในการตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการของไทย”

“บรรดา SME ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างเคยประสบปัญหาในการเข้าถึงสถาบันการเงิน และถูกบังคับให้ต้องพึ่งพาเงินทุนส่วนตัวเป็นหลักแทนเพื่อใช้รองรับการเติบโตของธุรกิจ” กล่าวโดยเกร็ก มูน (Greg Moon) หุ้นส่วนผู้จัดการของ SoftBank Investment Advisers “Funding Societies กำลังสร้างสะพานเชื่อมบริษัทเหล่านี้ให้สามารถเข้าถึงการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนมากขึ้นและมีค่าใช้จ่ายน้อยลงโดยสร้างชุดข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัทเหล่านี้และใช้เทคโนโลยีที่ใช้ AI ประเมินความน่าเชื่อถือทางเครดิตของบริษัทเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ารูปแบบดั้งเดิม

เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ เคลวิน เตียวและทีมงานในการสนับสนุนภารกิจของ Funding Societies ที่จะปรับปรุงสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ดีขึ้นด้วยการระดมเงินทุนให้แก่บรรดา SME ที่มีคุณค่าแต่ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการ”

ในไตรมาส 4 ปี 2564 Funding Societies ได้ให้เงินทุนไปมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้น โดยเงินทุนแบบวงเงินให้กู้ยืมของบริษัทฯ ส่วนหนึ่งมาจากองค์กรขนาดใหญ่ในยุโรป
นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา Funding Societies ได้ขยายการให้บริการทางการเงินหลายรูปแบบนอกเหนือจากการให้กู้ยืม และวางแผนที่จะขยายการดำเนินงานไปยังที่อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใน 12 เดือนข้างหน้า