แอร์บัส จับมือกับ NTT DOCOMO และ SKY Perfect JSAT ร่วมกันศึกษาบริการการเชื่อมต่อจากเทคโนโลยี High-Altitude Platform Stations (HAPS)

กรุงเทพฯ 21 มกราคม 2565 – แอร์บัส และบริษัท นิปปอนเทเลกราฟแอนด์เทเลโฟนคอร์ปอเรชั่น (Nippon Telegraph and Telephone Corporation: NTT) บริษัท เอ็นทีที โดโคโม อิงค์ (NTT DOCOMO, INC.: DOCOMO) และสกาย เพอร์เฟค เจแซท คอร์ปอเรชั่น (SKY Perfect JSAT Corporation: SKY Perfect JSAT) ประกาศความร่วมมือในการเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของการร่วมใช้งานบริการเชื่อมต่อจากเทคโนโลยี High-Altitude Platform Stations (HAPS) แห่งอนาคต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศการเชื่อมต่อไร้สายบนอวกาศในอนาคต

การศึกษาดังกล่าวเปิดตัวพร้อมกับบันทึกความเข้าใจ (MOU) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุข้อกำหนดในการปรับใช้ในช่วงต้นของเครือข่ายที่ใช้ระบบ HAPS ความร่วมมือนี้จะช่วยตรวจสอบการใช้งานแอร์บัส เซเฟอร์ (Airbus Zephyr) ซึ่งเป็นระบบอากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial system: UAS) ชนิดปีกตรึง (Fixed wing) ที่ปฏิบัติการอยู่ในความสูงของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ และขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์

รวมถึงเครือข่ายการสื่อสารไร้สายของ NTT, DOCOMO และ SKY Perfect JSAT เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ HAPS ระบุการใช้งานได้จริง พัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็น ตลอดจนเริ่มบริการบรอดแบนด์ไร้สายบนอวกาศในท้ายที่สุด

- UAS 20211112 Zephyr High Altitude Platform Station achieves connectivity - ภาพที่ 1

ในการผลักดันระดับโลกเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นและเปิดตัวเทคโนโลยี 6G ในที่สุด โครงการต่าง ๆ อยู่ระหว่างการขยายความครอบคลุมไปทั่วโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่ในมหาสมุทรและในอากาศ ตลอดจนพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง โครงการเหล่านั้นจะรวมถึง HAPS ที่บินบนชั้นสตราโตสเฟียร์เหนือพื้นโลกประมาณ 20 กิโลเมตร และเทคโนโลยี Non-terrestrial network (NTN)

โดยใช้ดาวเทียมวงโคจรแบบค้างฟ้า (Geostationary-orbit: GEO) และดาวเทียมวงโคจรต่ำของโลก (Earth-orbit: LEO) เครือข่าย HAPS ถือเป็นโซลูชันที่ค่อนข้างง่ายต่อการเชื่อมต่อทางอากาศและทางทะเล และเป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสำหรับการปรับใช้มาตรการรับมือภัยพิบัติ อีกทั้งยังมีการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก การจัดหาบริการโครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุบนอวกาศโดยใช้เทคโนโลยี NTN หรือที่เรียกกันว่า Space RAN (Radio Access Network) คาดว่าจะรองรับการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกโดยครอบคลุมได้กว้างไกลเป็นพิเศษ

และการพัฒนาให้สามารถต้านทานกับภัยพิบัติได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยี 5G และ 6G ที่ได้รับการปรับปรุง นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม HAPS ยังสามารถเชื่อมต่อระหว่างเกตเวย์เครือข่ายภาคพื้นดินที่ใกล้ที่สุด และขยายการเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่ไปยังอุปกรณ์ของผู้ใช้ปลายทางได้โดยตรง โดยให้ทางเลือกบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อในเขตชนบท แบบฉุกเฉิน หรือทางทะเล

โดยการลงนามในบันทึกความเข้าใจนี้ ทั้งสี่บริษัทจะหารือร่วมกัน พร้อมระบุถึงโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ในอนาคตซึ่งจำเป็นต่อการปลดล็อกบริการการเชื่อมต่อบน HAPS ในอนาคต พยายามโน้มน้าวเจรจาให้เกิดการสร้างมาตรฐานและจัดตั้งเป็นสถาบันเพื่อการดำเนินระบบ HAPS รวมถึงค้นหาโมเดลธุรกิจเพื่อทำบริการ HAPS ให้เป็นเชิงพาณิชย์

สาระสำคัญประกอบไปด้วยการประยุกต์ใช้ของ HAPS สำหรับการเชื่อมต่อของโทรคมนาคมเคลื่อนที่บน backhaul ของสถานีภาคพื้นดินและสถานีฐาน[1] ประสิทธิภาพของคลื่นความถี่ต่าง ๆ ในระบบ HAPS ข้อพิจารณาทางเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมโยง HAPS กับดาวเทียมและสถานีฐานภาคพื้นดิน และการจัดตั้งระบบสหกรณ์ เพื่อทดสอบเครือข่ายที่รวมเทคโนโลยี NTN ดาวเทียมและ HAPS ไว้ด้วยกัน

จากที่ได้เคยประกาศไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 DOCOMO และแอร์บัสประสบความสำเร็จในการทดสอบการถ่ายทอดคลื่นระหว่างภาคพื้นดินกับอากาศยาน “Zephyr S” ระบบ HAPS ในชั้นสตราโตสเฟียร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการสื่อสารที่มีความเสถียรกับรูปแบบดังกล่าว