ในยุคที่คนตกงานมีให้เห็นทุกวัน!! แนะนำ 3 ขั้นตอนวิธีขึ้นทะเบียน-รายงานตัวว่างงานผ่านเน็ต

Lazada

วิธีรายงานตัวว่างงานผ่านเน็ต

คำว่า “ว่างงาน” หมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลไม่มีงานที่ทำอยู่ในขณะนั้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องชั่วคราวหรือยาวนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเหตุผลที่ทำให้บุคคลเหล่านั้นไม่มีงานที่ทำ บางครั้ง บุคคลอาจจะว่างงานเนื่องจากสำเร็จการศึกษาล่าช้าหรือเพิ่งเริ่มต้นการหางาน หรืออาจเกิดจากการลาออกจากงานก่อนได้หางานใหม่ อีกทั้งยังมีกรณีที่บุคคลกำลังหางานใหม่หลังจากพ้นงานก่อนหน้านี้ โดยทั่วไปแล้ว การว่างงานจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากผู้ว่างงานจะไม่มีรายได้จากการทำงานและอาจส่งผลต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงเป็นการขัดจังหวะการพัฒนาของตนเองและสังคมในด้านต่างๆด้วย

การ ขึ้นทะเบียนว่างงาน หรือ รายงานตัวว่างงาน หมายถึงการลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานกับหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานส่วนบุคคลที่รับผิดชอบด้านจัดการแรงงาน เพื่อให้สามารถรับข้อมูลและความต้องการของผู้ว่างงานได้ เพื่อนำไปช่วยส่งเสริมการได้งานให้กับผู้ว่างงานได้มากขึ้น โดยปกติแล้ว หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดการแรงงานจะทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ว่างงานที่ลงทะเบียน เช่น ประสบการณ์การทำงาน เงินเดือนที่ต้องการ สาขาอาชีพที่สนใจ เป็นต้น แล้วจึงจัดทำฐานข้อมูลผู้ว่างงาน ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารและช่วยเหลือผู้ว่างงานในการหางานได้มากขึ้น การขึ้นทะเบียนว่างงานเป็นอีกหนึ่งวิธีสำคัญในการสนับสนุนผู้ว่างงานให้ได้งานที่เหมาะสมกับความต้องการและสามารถต่อยอดความสามารถและทักษะต่อไปได้

ผ่านมาเป็นปีๆ ก็ดูท่าว่าสถานการณ์ COVID-19 จะยังไม่ดีขึ้นสักที พอเป็นแบบนี้อะไรๆ ก็แย่ตามกันไปหมด ไหนจะเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาการเรียนออนไลน์ก็มีให้เห็นเยอะ บางคนก็ตกงาน ถูกเลิกจ้าง นักศึกษาจบใหม่หลายคนก็ยังไม่สามารถหางานได้ เรียกได้ว่าลำบากกันไปหมด แต่ไม่ต้องกังวลไป! เพราะทางกรมการจัดหางานได้ปรับเปลี่ยนวิธีการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ว่างงานใหม่ โดยให้เปลี่ยนไปใช้ วิธีรายงานตัวว่างงานผ่านเน็ต ที่สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องไปที่สำนักงานจัดหางาน และใช้เพียงแค่หมายเลขบัตรประชาชนเท่านั้น! ไปดูกันเลยว่าต้องทำอะไรยังไงบ้าง

วิธีรายงานตัวว่างงานผ่านเน็ต

รายงานตัวว่างงาน

1. ผู้ประกันตนลงทะเบียนสมาชิกบนเว็บไซต์ http://empui.doe.go.th/auth/index โดยใช้เพียงข้อมูลจากบัตรประชาชน พร้อมทั้งกรอกเลขหลังบัตรประชาชน (Laser Code) จากนั้นจะได้รับรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานในระบบฯ

2. หลังจากลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกันตนจะต้องดำเนินการยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สปส. 2-01/7 พร้อมเอกสารประกอบการยื่นแบบคำขอ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน โดยสามารถส่งสำเนาแบบคำขอได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/ จังหวัด/ สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ

3. สำหรับการรายงานตัว ทางกรมการจัดหางานได้เปลี่ยนมาใช้ วิธีรายงานตัวว่างงานผ่านเน็ต โดยผู้ประกันตนสามารถรายงานตัวผ่านระบบได้เดือนละ 1 ครั้ง

กรณีที่ผู้ประกันตนไม่สามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ ผู้ประกันตนจำเป็นจะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สำนักงานจัดหางานตามเดิม

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/ จังหวัด/ สาขา ที่สะดวก หรือโทร. 1506 โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ปล. การลงทะเบียนว่างงานก็ต่อเมื่อเราตกงานเท่านั้น คนละเรื่องกับ เงินเยียวยา 5,000 บาท ที่ประกันสังคมเคยจ่าย