เตือนภัย Music Lover! 5 อันตรายจากการใช้หูฟังที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว

- wrong using earphones cover - ภาพที่ 1

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะขึ้นรถ ลงเรือ ขึ้นเหนือ ล่องใต้ หรือไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน ทำอะไร หลายๆ คนก็มักจะหนีบไอเทมคู่ใจอย่าง “หูฟัง” ไปเป็นเพื่อนร่วมทางด้วยเสมอ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน รวมไปถึงผู้หลักผู้ใหญ่รุ่นพ่อรุ่นแม่บางคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี ชอบใช้ Gadget ตามยุคตามสมัย ก็ยังชอบฟังเพลงจากหูฟังไม่แพ้เด็กๆ กันเลย

ซึ่งว่ากันตามจริงก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกัน ว่าเสียงเพลงที่ได้ยินจากหูฟัง ฟังยังไงมันก็เพราะ เข้าถึงอารมณ์เพลงได้มากกว่า ยิ่งบางคนที่ชอบฟังเพลงมากๆ ก็จะยิ่งเพิ่มเสียงดังจนเกือบสุด จมดิ่งอยู่ในโลกของตัวเอง โดยที่ลืมนึกไปถึงภัยอันตรายหรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้หูฟังแบบผิดๆ

- beautiful woman sofa listening music - ภาพที่ 3

5 อันตรายจากการใช้หูฟังแบบผิดๆ

ฟังเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ : แม้เสียงที่ได้ยินจากหูฟังจะไพเราะเพราะพริ้งขนาดไหน ก็ไม่ควรลืมว่าหูของคนเรามีระดับการได้ยินที่รับไม่ได้อยู่ด้วย ซึ่งในทางการแพทย์นั้นระดับเสียงที่ปลอดภัยต่อระบบการได้ยินของคนเราคือไม่เกิน 85-90 เดซิเบล ฉะนั้นหากเราเพิ่มเสียงหูฟังให้ดังเกินกว่าที่หูจะรับไหว ก็จะทำให้เป็นอันตรายต่อการได้ยิน และยิ่งถ้าฟังเสียงดังๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมไปจนถึงหูหนวกแบบถาวรได้

ใช้หูฟังจนละเลยเสียงรอบข้าง : หลายคนมักจะชอบใช้หูฟังตอนออกไปข้างนอกซึ่งเสี่ยงเกิดภัยอันตรายหรืออุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ใช้หูฟังตอนอยู่ในรถไฟฟ้าทำให้ไม่ได้ยินเสียงประกาศ ใช้หูฟังขณะกำลังข้ามถนน ทำให้ไม่ได้ยินเสียงรถที่กำลังเข้ามาใกล้ ใช้หูฟังในที่ที่มีเสียงดังทำให้ต้องเพิ่มระดับเสียงหูฟังมากกว่าเดิม หรือกรณีอื่นๆ อย่างการใช้หูฟังจนไม่ได้สังเกตว่ามีคนเดินตาม หรือกำลังจะเกิดอันตรายอะไรกับตัวเอง ทำให้ไม่ทันได้ระวังตัว เป็นต้น

ใช้หูฟังขณะนอนหลับ : จริงอยู่ว่าการฟังเพลงก่อนนอนจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่ก็มีอันตรายด้วยเช่นกัน เพราะในขณะที่เรานอนหลับ ตอนที่เปลี่ยนท่าเป็นนอนตะแคงก็จะเกิดการกดทับหูฟังกับหู ส่งผลให้มีอาการเจ็บหรือปวดที่หู อาจทำให้หูชั้นนอกอักเสบหรือกลายเป็นหูน้ำหนวกได้

ใช้หูฟังขณะชาร์จโทรศัพท์ : แม้จะยังไม่มีข้อสรุปยืนยันชัดเจนว่าคลื่นโทรศัพท์มีอันตรายต่อระบบประสาทและสมอง แต่หากมีกรณีที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจทำให้เกิดการระเบิด หรือไฟฟ้ารั่วได้ง่าย ยิ่งถ้ากำลังเสียบใช้งานหูฟังอยู่ด้วยล่ะก็ จะยิ่งเป็นตัวนำส่งและรับสัญญาณไฟฟ้าเข้าสู่หู ซึ่งจะเชื่อมต่อกับสมองโดยตรง ทำให้อาการบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น และอาจทำลายระบบประสาท เกิดอาการมึนงงหรือหมดสติได้

ละเลยการทำความสะอาดหูฟัง : หลายคนใช้หูฟังอยู่ทุกวันแต่ก็มักจะละเลยการทำความสะอาด ไม่แม้แต่จะสังเกตเห็นว่าหูฟังที่ใช้อยู่สกปรกขนาดไหน ซึ่งหูฟังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรีย เมื่อเราใส่เข้าไปในหูก็อาจทำให้เสี่ยงโรคหนองในหู หรือหูเกิดการอักเสบได้

- curious young man holding hand near ear - ภาพที่ 5

สัญญาณเตือนความเสี่ยงอาการหูหนวก

หลายคนที่เสพติดการใช้หูฟัง เมื่อใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่ฟังเสียงดังเป็นระยะเวลาติดต่อกันนานๆ มักจะได้ยินเสียง “วิ้งๆ” ดังอยู่ในหู ซึ่งเสียงเล็กแหลมนี้อาจฟังดูไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แค่ก่อกวนให้รำคาญในช่วงสั้นๆ แต่หากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายได้ เพราะเสียงที่ว่าก็คือสัญญาณเตือนของอาการ “หูหนวก” จากการใช้หูฟังแบบผิดๆ นั่นเอง อีกทั้งยังสังเกตได้จากอาการเหล่านี้อีกด้วย

  • ได้ยินเสียง “วิ้ง” ในหู ทั้งในขณะใช้งานและไม่ได้ใช้งานหูฟัง
  • มึนงง หรือไม่สามารถทรงตัวได้หลังจากตื่นนอน
  • หูอื้อ เริ่มได้ยินเสียงไม่ชัด
  • ได้ยินเสียงอู้อี้หรือเสียงสั่นๆ จากหูข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
  • มีอาการปวดในช่องหูเมื่อได้ยินเสียงดัง

- attractive stylish woman listening music wireless earphones holding smartphone - ภาพที่ 7

การใช้หูฟังที่ถูกต้องและปลอดภัย

  • ใช้หูฟังในระดับเสียงไม่เกิน 50-60% ของหูฟัง
  • ไม่ควรฟังนานต่อเนื่องเกิน 1-2 ชั่วโมง
  • ไม่ใช้หูฟังในที่ที่มีเสียงดัง
  • ไม่ใช้หูฟังขณะกำลังข้ามถนน หรืออยู่ในสถานที่ หรือในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตราย
  • หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังร่วมกับผู้อื่น และหมั่นทำความสะอาดหูฟังบ่อยๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก

pobpad.com, chiangmainews.co.th

ติดตามเพจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

บันทึก