ไมโครคอนโทรเลอร์ PIC® และ AVR® คือหัวใจหลักของแบบแผนแบบรองรับภายในส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน

29 เมษายน พ.. 2565 – ด้วยสมาร์ทโฟน รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และการเชื่อมต่อไร้สาย 5G ซึ่งครองการใช้งานแบบแผนแบบรองรับในปี 2565 ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller หรือ MCU) PIC® และ AVR® 8 บิตของไมโครชิพจึงกำลังได้รับส่วนแบ่งทางการตลาด เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้วที่ตลาด MCU 8 บิตได้เติบโตอย่างมั่นคง และปัจจุบันไมโครชิพก็ขายอุปกรณ์หนึ่งตัวให้แก่คนทุกคนในซีกโลกตะวันตกเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนแนวโน้มที่กำลังดำเนินอย่างต่อเนื่องนี้ วันนี้ บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (Nasdaq: MCHP) จึงประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ห้าตระกูลและอุปกรณ์ใหม่กว่า 60 อุปกรณ์ซึ่งช่วยนักออกแบบแบบแผนแบบรองรับ (Embedded Design) ในการแก้ปัญหาที่พบบ่อยที่สุด

- 240408 MCU8 PR PIC AVR 9x5 1 - ภาพที่ 1

นักออกแบบที่กำลังวางแผนสร้างงานออกแบบที่ทันสมัยกำลังหันไปใช้ตระกูลผลิตภัณฑ์ MCU PIC และ AVR ใหม่ของไมโครชิพ เนื่องด้วยพลังในการประมวลผล ความสามารถในการสื่อสารกับชิปอื่น ๆ อย่างง่ายดาย และอุปกรณ์ต่อพ่วงอนาล็อกที่สร้างขึ้นให้สามารถปรับค่าได้อย่างดีเยี่ยมโดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต่อแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board หรือ PCB) อุปกรณ์เหล่านี้มีความสามารถเหมือนกับ ASIC ทั้งยังมอบประสบการณ์การพัฒนาที่เรียบง่าย ซึ่งขยายความสามารถของ MCU แบบดั้งเดิม และช่วยให้ MCU เหล่านั้นสามารถปรับค่าได้เช่นเดียวกับชิปต่อพ่วง (Peripheral Chip) อัจฉริยะ อุปกรณ์ต่อพ่วงอัจฉริยะเหล่านี้ เช่น ออปแอมป์ที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ซึ่งมีในตระกูล PIC16F171, I/O (MVIO) หลายแรงดันไฟฟ้า และคอนเวอร์เตอร์จากอนาล็อกเป็นดิจิทัลที่มีการคำนวณ (ADCC) นั้น เพิ่มมูลค่าให้แก่การใช้งานที่ไม่มี MCU แบบดั้งเดิม

ความท้าทายในการขยายโดเมนหลายแรงดันไฟฟ้าคือสถานการณ์ปกติในระบบที่มีชิปที่ใช้แรงดันไฟฟ้าเลี้ยงต่างกัน (ตัวอย่างเช่น เมื่อเชื่อมต่อ MCU 5V เข้ากับเซนเซอร์ 1.8V) ปกติแล้วระบบประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดแวร์เปลี่ยนระดับ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุน อุปกรณ์ต่อพ่วง MVIO ที่มีใน MCU 8 บิตล่าสุดของไมโครชิพ รวมถึงตระกูล AVR DD นั้น ช่วยให้หนึ่งพอร์ตบน MCU สามารถใช้งานในโดเมนแรงดันไฟฟ้าที่ต่างจาก MCU ที่เหลือ ซึ่งช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ภายนอกเพิ่มเติม

บางระบบต้องใช้ระดับความเร็วและเวลาการตอบสนองที่ยากจะทำได้ด้วยการประมวลผลโดยใช้ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงอิสระหลัก (Core Independent Peripherals หรือ CIP) ที่มีในกลุ่มผลิตภัณฑ์ PIC และ AVR ของไมโครชิพสามารถตั้งโปรแกรมได้ด้วยตัวปรับค่าโค้ด MPLAB® (MPLAB® Code Configurator หรือ MCC) เพื่อให้เชื่อมต่อและสร้างห่วงโซ่การประมวลผลฮาร์ดแวร์ได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้สามารถสร้างอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ปรับค่าเองซึ่งช่วยกำจัดเวลาวงจรการประมวลผลซอฟต์แวร์ ตัวอย่างเช่น LED Array WS2812 ซึ่งจำเป็นต้องใช้การกำหนดเวลาเฉพาะที่ต้องขับเคลื่อนอย่างถูกต้อง สามารถควบคุมได้อย่างง่ายดายด้วยการปรับค่าอุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดซูเปอร์ซึ่งประกอบด้วยตัวโมดูเลตความกว้างพัลซ์ (Puls-Width Modulator หรือ PWM) อินเตอร์เฟส SPI และเซลล์โลจิกปรับค่าได้ (Configurable Logic Cell หรือ CLC)

ในขณะที่ตลาดอุปกรณ์ PIC และ AVR 8 บิตเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไมโครชิพก็ยังคงตอบสนองความต้องการระยะยาวของลูกค้าด้วยการยึดมั่นในพื้นฐานที่แข็งแกร่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์และโครงสร้างการสนับสนุนของตน MCU PIC และ AVR นั้นออกแบบง่ายด้วยเครือข่ายการสนับสนุนของไมโครชิพ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าของไมโครชิพสามารถเร่งเวลาในการสร้างรายได้ของตน กลุ่มผลิตภัณฑ์ MCU 8 บิตนั้นมีความเข้ากันได้แบบพินต่อพิน ซึ่งช่วยให้สามารถเลือก MCU PIC หรือ AVR สลับ เมื่อต้องการสมรรถภาพมากยิ่งขึ้น หรือเมื่อลูกค้าต้องการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อได้ให้มีจำนวนสูงสุดโดยที่ลดข้อกำหนดการออกแบบใหม่ให้น้อยลง

เกรก โรบินสัน รองประธานด้านการตลาดประจำหน่วยธุรกิจ MCU8 ของไมโครชิพกล่าวว่า “ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC และ AVR นั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากได้รับการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในการใช้งาน ณ ปัจจุบันและในอนาคต เราได้สร้างห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งสำหรับ MCU PIC และ AVR ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผลิตในโรงงานที่ไมโครชิพเป็นเจ้าของ ซึ่งช่วยให้เราสามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้ด้วยวิธีที่ต่างออกไปในอุตสาหกรรม

เครื่องมือพัฒนา

ไมโครชิพเสนอระบบนิเวศเครื่องมือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ (Integrated Development Environments หรือ IDEs) MPLAB® X และ MPLAB® Xpress และตัวปรับค่าโค้ด MPLAB® (MPLAB® Code Configurator หรือ MCC) ซึ่งมีอินเตอร์เฟสกราฟิกที่ใช้งานง่ายเพื่อสร้างการจัดการที่พร้อมต่อการผลิตและโค้ดการใช้งานสำหรับโปรเจ็กต์ที่ใช้ MCU 8 บิต