Mitsubishi Electric ร่วมกับ อีอีซี เดินหน้าต่อยอดความร่วมมือ นำกลุ่มพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่น ปลดล็อกอุตสาหกรรมไทยสู่ระบบการผลิตอัตโนมัติตามแนวทาง e-F@ctory ในงาน EEC Connecting Thailand and Japan Collaboration Event 2022

Lazada

- Mitsubishi Electric 7 - ภาพที่ 1

[กรุงเทพฯ] (20 พฤษภาคม 2565) Mitsubishi Electric ร่วมกับ อีอีซี พร้อมทั้งพันธมิตรเครือข่าย Ecosystem ไทย-ญี่ปุ่น จัดงาน EEC Connecting Thailand and Japan Collaboration 2022 แถลงความสำเร็จจากการต่อยอดความร่วมมือเชื่อมโยงพันธมิตรกว่า 60 บริษัทในไทย และมากกว่า 1,000 บริษัททั่วโลก ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีชั้นสูง รวมทั้งแชร์ประสบการณ์จริงจากการใช้งาน เพื่อปลดล็อกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยให้เข้าสู่ระบบการผลิตอัตโนมัติ e-F@ctory (Industry 4.0 + 5G utilization) เดินหน้าพัฒนาสู่โรงงานอัจฉริยะกว่า 10,000 แห่ง พัฒนาทักษะบุคลากร 50,000 คน

เกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาทใน 3 ปี ยกระดับอีอีซี สู่พื้นที่ลงทุนนวัตกรรมขั้นสูง เสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ และคุณภาพชีวิตคนไทย พร้อมตั้งเป้าก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน Digitalizing and Decarbonizing เพื่อให้ธุรกิจเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และบรรลุเป้าความสำเร็จเชิงรูปธรรมตามนโยบาย Industry Thailand 4.0 ของรัฐบาลไทยได้เร็วขึ้น โดยมีบุคคลสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงาน และออนไลน์รวมกว่า 500 ราย

- 01. นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ - ภาพที่ 3

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานในพิธี กล่าวเปิดงานว่า “ผมขอแสดงความยินดี และขอบคุณในความร่วมมืออย่างดีเสมอมา ระหว่างประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย โดยมี อีอีซี เป็นสะพานเชื่อม และสนับสนุนการยกระดับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศ ในโอกาสครบรอบ 135 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต และครบรอบ 10 ปี หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย-ญี่ปุ่น ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสู่อนาคต

ทั้งความเชื่อมโยงด้าน Supply Chain การร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG1 สร้างสังคมสีเขียว ลดปล่อยก๊าซคาร์บอน (Decarbonization) และรวมถึงการส่งเสริมการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digitization) เพื่อมุ่งสู่การค้า การลงทุน และการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ตลอดจนการร่วมมือด้านสาธารณสุข แม้ว่าปัจจุบันการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเริ่มผ่อนคลาย และเปิดเมืองให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามา

แต่ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกจากความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน เกิด Supply chain disruption ในภูมิภาค จึงเป็นอุปสรรคและความท้าทายของภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และขนส่ง โดยเฉพาะต้นทุนพลังงานที่ผันผวนมาก ซึ่งรัฐบาลได้พยายามลดภาระ เพื่อประคับประคองให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปให้ได้ นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ยังต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน จึงจำเป็นต้องปรับตัว พัฒนากระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ เพื่อบริหารต้นทุน ลดการสูญเสีย เพิ่มมูลค่า ให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว

จึงต้องใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ เช่นเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบ 5G การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ร่วมกับระบบออโตเมชัน หุ่นยนต์ และอื่น ๆ มาช่วยเสริม ดังนั้น ความพยายามของ อีอีซี ร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น JETRO และภาคเอกชนญี่ปุ่น นำโดยกลุ่ม Mitsubishi Electric และความพร้อมของเครือข่ายเจ้าของเทคโนโลยี และผู้พัฒนาให้บริการโซลูชัน หรือ System Integrators ในงานนี้นั้น จึงนับเป็นกลไกสำคัญต่อการสนับสนุนการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อเร่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Industry Thailand 4.0 ตามยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย ที่สอดคล้องกับข้อริเริ่ม Investing for the future ของรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ไปข้างหน้าอย่างสมดุล และยั่งยืน”

- 02. นายนาชิดะ คาซูยะ - ภาพที่ 5

ด้าน นายนาชิดะ คาซูยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เผยว่า “ประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่สำคัญยิ่งสำหรับประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยประมาณ 6,000 บริษัท ซึ่งการลงทุนของบริษัทต่างชาติในประเทศไทยนั้น ญี่ปุ่นยังคงครองแชมป์ทั้งด้านปริมาณการลงทุนและมูลค่าการลงทุน โดยอุตสาหกรรมการผลิตคิดเป็นสัดส่วนราว 40% จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของบริษัทไทยและบริษัทญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิต โดยเน้นอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลัก โดยมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เป็นเวทีสำคัญของการพัฒนา

ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตกำลังก้าวเข้าสู่รูปแบบใหม่ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบ “Digital” และ “Green” ด้วยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) มาใช้ในหน้างานผลิต เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตแบบก้าวกระโดด และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านการตลาด จะช่วยขยายห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โดยคำนึงถึงธุรกิจแบบ “B to B to C” ด้วย ดังนั้น องค์ความรู้ของบริษัทญี่ปุ่น ด้าน Factory Automation ใน “EEC Automation Park” ณ มหาวิทยาลัยบูรพา

ซึ่งจัดตั้งโดยบริษัท Mitsubishi Electric ซึ่งเป็นผู้จัดงานวันนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และภาครัฐของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นพร้อมจะสนับสนุนความพยายามของประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี พ.ศ. 2593 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2608 โดยให้ความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยความเชี่ยวชาญพิเศษในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ผู้ผลิตรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ เช่น รถไฮบริด (HV) หรือ อีโคคาร์ ให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ในด้านแบตเตอรี่ EV ผู้ผลิตญี่ปุ่นก็คงจะช่วยนำพาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้ขับเคลื่อนไปเช่นกัน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีผู้เล่นที่มีความศักยภาพสูงอยู่มากมายในด้านพลังงานขั้นสูง เช่น ไฮโดรเจน เชื้อเพลิงแอมโมเนีย CCS ฯลฯ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นด้าน “Digital” และ “Green” ซึ่งในเร็ว ๆ นี้ ภาคเอกชนจะย้ายเข้าสู่ระยะลงมือปฏิบัติในฐานการผลิตที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และคงจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่แน่นอน”

นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอ “Asia Japan Investing for Future”หรือ “AJIF (เอจีฟ)” ถือเป็นนโยบายหลักของนโยบายเศรษฐกิจเอเชียของญี่ปุ่น ซึ่งมีคีย์เวิร์ด คือ “การร่วมคิดสร้าง” (Co-Creation) ได้แก่  1) เผชิญหน้ากับประเด็นปัญหาสังคมที่อีกประเทศกำลังประสบอยู่ และนำเสนอแนวทางแก้ไขที่เห็นผลได้จริง 2) ภาครัฐและเอกชนจับมือกัน ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมของภาคเอกชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน 3) ร่วมคิดสร้างอนาคตของภูมิภาค ผ่านการร่วมมือกับบริษัทของประเทศพันธมิตร โดยมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยผนึกกำลังเสริมจุดอ่อนจุดแข็งของกันและกันอย่างเท่าเทียมกัน

- 03. ดร. คณิศ แสงสุพรรณ - ภาพที่ 7

ขณะที่ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือ อีอีซี) กล่าวโดยสรุปว่า “อีอีซี ได้พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย-ญี่ปุ่น ผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานและภาคเอกชนญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งของภาคเอกชนญี่ปุ่นในพื้นที่อีอีซี ที่มีมาอย่างยาวนาน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ

เชื่อมโยงด้านการผลิต (Supply Chain) ร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว BCG1 ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และความร่วมมือด้านสาธารณสุขผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งกรอบความร่วมมือพัฒนาอนุภูมิภาคและภูมิภาค เช่น กรอบความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น และประสบผลสำเร็จในความร่วมมือกับ Mitsubishi Electric พร้อมพันธมิตรเครือข่าย ซึ่งได้พัฒนา EEC Automation Park ให้เป็นฐานหลักขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์และออโตเมชัน

สร้างความเชื่อมโยงให้ภาคอุตสาหกรรมไทยปรับตัวไปสู่โรงงานอัจฉริยะ หรือ Smart Factory ใช้นวัตกรรมนำการผลิต พัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรม 4.0 ในพื้นที่อีอีซี รวมทั้งได้ร่วมกับกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และ หอการค้าญี่ปุนกรุงเทพ (JCC) ชักจูงนักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนและผลักดันการใช้ระบบหุ่นยนต์และออโตเมชัน ซึ่งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คาดว่าภายใน 3 ปีจากนี้ การลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัล

จะมีมูลค่าสูงถึง 500,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการลงทุน 5G ระบบหุ่นยนต์ออโตเมชัน ในอีอีซี ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี สร้างงานรายได้ให้คนไทย และสนับสนุนให้ภาคการผลิตของไทย มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ทัดเทียมทั่วโลก โดยตั้งเป้าหมายภายในปีนี้จะนำโรงงานอุตสาหกรรมในอีอีซี ทำงานร่วมกับธุรกิจที่ให้บริการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายและเทคโนโลยี (System Integrators) หรือ SI พร้อมสนับสนุนให้เข้าสู่ระบบออโตเมชัน ไม่น้อยกว่า 200 แห่ง

และภายใน 3 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2568) ไม่น้อยกว่า 6,000 แห่ง คาดว่าไม่เกิน 5 ปี จะสามารถปรับสู่โรงงานอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Digital Manufacturing 4.0 ได้ไม่น้อยกว่า 10,000 โรงงาน ช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง ลดอัตราการเสื่อมของเครื่องจักร ลดภาระงาน ช่วยประหยัดพลังงาน ยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก สร้างรายได้ให้แรงงานไทย ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างยั่งยืน”

- 04. นายอัทสึชิ ทาเคทานิ - ภาพที่ 9

นอกเหนือจากความร่วมมือเพื่อพัฒนาสู่ระบบอุตสาหกรรมแบบดิจิทัล ออโตเมชัน แล้ว ไทยและญี่ปุ่นยังได้ร่วมกันวางเป้าหมายเพื่อให้ อีอีซี เป็นพื้นที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของภาคอุตสาหกรรมแห่งแรกในภูมิภาค โดย นายอัทสึชิ  ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เผยว่า “อีอีซี กับ JETRO ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผนึกกำลังสนับสนุนนโยบายที่สำคัญระดับประเทศของทั้งสองฝ่ายอย่างเต็มกำลัง และตั้งเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนสู่อีอีซี

โดยได้จัดงาน webinar และงานจับคู่เจรจาทางธุรกิจแบบออนไลน์ภายใต้หัวข้อธุรกิจที่ยั่งยืนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutral ขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG1 ของรัฐบาลไทย และยุทธศาสตร์ Green Growth Strategy ของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งมุ่งเป้าหมายไปที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและผลักดันการดำเนินการเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันธุรกิจที่ยั่งยืนสู่บริษัทญี่ปุ่นและไทย และยินดีสนับสนุนให้เกิดธุรกิจใหม่ระหว่างไทยและญี่ปุ่นเพื่อมุ่งสู่การลดปริมาณคาร์บอนอย่างแท้จริง

รวมถึงการสร้างความแข็งแกร่ง (Resilience) ให้ห่วงโซ่อุปทานโดยนำระบบดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ และการลดจำนวนแรงงาน (Digitalization, Automation, Manpower Saving) สู่หน้างานผลิต เพื่อให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทานระดับโลกที่ทั้งแข็งแกร่ง ที่ผ่านมา JETRO ได้สนับสนุนโครงการ “Robot Automation Project” และให้การสนับสนุนรูปแบบต่างๆ เช่น “โครงการสนับสนุนการเพิ่ม supply chain ในต่างประเทศ ASEAN-JAPAN” และ “โครงการพัฒนาบุคลากร” ด้วย รวมทั้งใน “โครงการ Asia DX” โครงการนำร่องเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทญี่ปุ่นกับอาเซียน มีโครงการจากประเทศไทยได้รับเลือก 9 รายซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดในอาเซียน

ทั้งนี้ในส่วนของ Mitsubishi Electric ที่ริเริ่มแนวคิด e-F@ctory (Industry 4.0 + 5G model line) และร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรก่อตั้ง EEC Automation Park ณ มหาวิทยาลัยบูรพา ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และพัฒนากำลังคนด้านออโตเมชันและหุ่นยนต์ เสริมสร้างทักษะเพื่อยกระดับเทคโนโลยีการผลิตในประเทศไทยให้ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) โดยเป็นแหล่งรวมเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาและเรียนรู้ระบบสายการผลิตอัตโนมัติแบบดิจิทัล (IoT) และการใช้เทคโนโลยี 5G อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางเครือข่ายในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความชำนาญด้านออโตเมชันให้แก่บุคลากรที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 25 หลักสูตร”

- 05. นายโคทานิ โทโมอากิ - ภาพที่ 11

นายโคทานิ โทโมอากิ ผู้บริหารระดับสูง รองประธานกลุ่ม Factory Automation Systems บริษัท Mitsubishi Electric Corporation เผยว่า “ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการผลิตได้ปรับเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลไปทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Mitsubishi Electric ที่สนับสนุนระบบการผลิตตามแนวทาง “e-F@ctory” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้ระบบอัตโนมัติ (FA) และระบบสารสนเทศ (IT) ในโรงงาน เพื่อแก้ปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตทั้งหมดของลูกค้ามากกว่า 40,000  เคสทั่วโลก

นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรเครือข่ายความร่วมมือ e-F@ctory Alliance Partner Association โดยประมาณ 1,050 บริษัททั่วโลก ครอบคลุมอาเซียน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินเดีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา และก่อตั้งพันธมิตรในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกราว 60 บริษัท ซึ่งเราได้นำเสนอโซลูชันใหม่ภายใต้ชื่อ SMKL (Smart Manufacturing Kaizen Level) สำหรับนำเสนอแผนการจัดการโรงงานว่าควรใช้ระบบ IoT ในโรงงานถึงระดับไหน นอกเหนือจากนี้เรายังพร้อมให้การสนับสนุนด้านความรู้และเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจเรื่องระบบอัตโนมัติ

ในส่วนของการรณรงค์เรื่องความเป็นกลางของคาร์บอน ซึ่งถือเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตรถยนต์ที่ให้ความสำคัญกับการเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบอัตโนมัติและการประหยัดแรงงาน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดย Mitsubishi Electric เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายที่มีข้อเสนอโซลูชันในด้านนี้ครบวงจร ที่รวมซอฟต์แวร์ SCADA ที่สามารถตรวจสอบจำนวนพลังงานที่โรงงานและอุปกรณ์การผลิตใช้ รวมถึงปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมา และแอปพลิเคชันสนับสนุนการประหยัดพลังงาน (Eco Advisor) เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งได้รับการประเมินอย่างสูงในการประกวด “Carbon Neutral” ของผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรป

ดังนั้นการที่รัฐบาลไทยได้กำหนดรูปแบบยุทธศาสตร์ระดับชาติใหม่ “แบบจำลองเศรษฐกิจ BCG1” เพื่อให้เกิดภาวะคาร์บอนเป็นกลางในปี พ.ศ. 2593 Mitsubishi Electric จึงพร้อมสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมตระหนักถึงความเป็นกลางของคาร์บอนในประเทศไทย เพิ่มเติมจากบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรด้านดิจิทัลเพื่อให้พร้อมเดินหน้าสู่ระบบการผลิตอัตโนมัติ เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน”

- 06. นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี - ภาพที่ 13

นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่     ออโตเมชัน (ประเทศไทย) จำกัด ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ e-F@ctory ในประเทศไทย ได้กล่าวว่า “ขอขอบคุณความร่วมมือของพันธมิตรเครือข่ายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการสร้างสังคม Ecosystem นำไปสู่การขยายความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในโรงงานมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมไทย ครอบคลุมทั้งด้านระบบฮาร์ดแวร์ โซลูชัน ซอฟแวร์ และการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความชำนาญให้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะศูนย์ EEC Automation Park ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญสำหรับ อีอีซี ในการขับเคลื่อน

และยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตของไทย พร้อมทั้งทาง Mitsubishi Electric เอง เรามีเป้าหมายภายใน 2 – 3 ปีนี้ ที่อยากจะเดินหน้าพัฒนาโรงงานให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ กว่า 200 แห่ง และยังเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอนาคตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย 4.0 ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่ความรับผิดชอบต่อสังคมก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นหากสามารถสร้างเม็ดเงินด้านการลงทุนได้พร้อมกับการก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำหรือสังคมไร้คาร์บอนได้ นั่นคือความสำเร็จที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง”

พร้อมกันนี้ อีอีซี ยังได้ร่วมกับกรมสรรพากร ผลักดันให้ EEC Automation Park และ FIBO เป็นศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนในการบริจาคและหักภาษีได้สูงสุด 100 ล้านบาท และภายในปี 2565 คาดว่าจะสามารถขยายศูนย์ส่งเสริมฯ ได้อีก 2 แห่ง รวมทั้งขยายผลความร่วมมือกับ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำข้อตกลง “ปฏิญญาวัดไตรมิตร” เพื่อร่วมกันเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรให้ได้ตามเป้าโดยเร็ว

- Mitsubishi Electric 2 - ภาพที่ 15

งาน EEC Connecting Thailand and Japan Collaboration 2022 จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแถลงความสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์ความร่วมมือในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศไทยของเครือข่ายที่รับผิดชอบ อาทิ ความพร้อมในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระบบการผลิตอัจฉริยะ ความพร้อมของ EEC Automation Park

และเครือข่ายในการเป็นศูนย์กลางนำร่องขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0 และความพร้อมด้านหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรของคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) ในการปรับปรุงทักษะความรู้ความชำนาญในระบบออโตเมชัน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญ คือ การแบ่งปันการพัฒนา e-F@ctory โซลูชัน ให้กับอุตสาหกรรมทั้งองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตลอดจนสิทธิประโยชน์ และข้อจูงใจต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนสู่ระบบการผลิตแบบดิจิทัล รวมถึงโชว์เคสโซลูชันเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยี Industry 4.0 + 5G ภายในงาน

1 BCG โมเดล เป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ที่มุ่งสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจายรายได้ ที่จะนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B : Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C : Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และสอดรับกับ G : Green Economy ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน