สกมช. เปิดคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญรับทุนอบรมและสอบ “ประกาศนียบัตร CISSP”

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) หรือ National Cyber Security Agency : NCSA เปิดหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน “ประกาศนียบัตร CISSP” รับสมัครทุนสอบจำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 25-30 คน สนับสนุนคนไทยให้มีความรู้เทียบชั้นระดับสากล

พลเอก ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. มีพันธกิจหลักด้านการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงการสร้างความตระหนักด้านสถานการณ์เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อให้มีการดำเนินการเชิงปฏิบัติการที่มีลักษณะบูรณาการและเป็นปัจจุบัน รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจนดำเนินการฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ได้เปิดตัวโครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Intensive Cybersecurity Capacity Building Program) ระยะที่ 1 เพื่อสร้างทักษะ ขีดความสามารถ และความรู้ความเข้าใจให้บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ซึ่งได้มีการจัดอบรมในหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ระดับผู้เชี่ยวชาญ และระดับผู้บริหารระดับสูง ทั้งภาคทฤษฎี ตลอดจนการฝึกอบรมภาคปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการพัฒนาเว็บไซต์ให้ปลอดภัย หรือ OWASP หลักสูตร SOC Analysisและ Threat Hunting

สกมช. มีเป้าหมายที่จะพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในโครงการฯ จำนวน 2,250 คน ภายในปี 2565 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ และในวาระแห่งการยกระดับคุณภาพของบุคลากรไทยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับสากล ภายใต้โครงการฯ จึงได้เปิดตัวหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน “ประกาศนียบัตร CISSP” ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับสากลที่เรียกว่า Certified Information Systems Security Professional หรือ CISSP

“สกมช. เล็งเห็นว่าหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่จะได้รับประกาศนียบัตร CISSP เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะของบุคคลากรคนไทยที่มีความสามารถด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อยู่แล้ว ให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นโดยจัดให้มีความเชี่ยวชาญระดับสูงในการบริหารจัดการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งได้รับการยอมรับในระดับสากล” พลเอก ดร.ปรัชญา กล่าว

Certified Information Systems Security Professional หรือ CISSP อยู่ภายใต้องค์กรชื่อ (ISC)2 หรือ International Information System Security Certification Consortium สมาคมรับรองความปลอดภัยระบบข้อมูลระหว่างประเทศ เป็นองค์กรระดับสากลที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มีอายุมากกว่า 30 ปี ซึ่งประกาศนียบัตร CISSP เป็นประกาศนียบัตรที่ได้รับการยอมรับจากทางกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา และทั่วโลกว่าเป็นประกาศนียบัตรด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับผู้เชี่ยวชาญ (Professional Center)

ปัจจุบันทั่วโลกมีจำนวนผู้ได้รับประกาศนียบัตร CISSP ประมาณ 152,600 คน โดยในประเทศไทยมีบุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตร CISSP ประมาณ 300 คนเท่านั้น ซึ่งห่างไกลจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศสิงคโปร์ ที่มีจำนวนมากกว่า 2,800 คน และประเทศมาเลเซีย มีจำนวนมากกว่า 390 คน ทำให้ สกมช. จึงได้มีการจัดทำโครงการมอบทุนสอบประกาศนียบัตร CISSP และฝึกอบรมหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน “ประกาศนียบัตร CISSP” ตามเงื่อนไขของ สกมช. เกิดขึ้น โดยรับสมัครทุนสอบจำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 25-30 คน เพื่อสนับสนุนคนไทยที่มีความรู้ความสามารถด้านรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จะได้รับการยอมรับในระดับสากลต่อไป

ทุนสอบ CISSP เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 2-31 พฤษภาคม พ.ศ.2565 โดยสอบคัดเลือกรอบที่ 1
วันที่ 23 พฤษภาคม-8 มิถุนายน พ.ศ.2565 และสอบคัดเลือกรอบที่ 2 วันที่ 11-15 กรกฎาคม พ.ศ.2565 พร้อมจัดอบรม Boot Camp ฟรี วันที่ 5-9 กันยายน พ.ศ.2565 เพื่อเตรียมตัวเข้าสอบ CISSP ท่านที่สนใจสามารถสมัครได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfv-fIa8C24EKlKKsD8XiynBvQ8J-ctaNAkohk6zD6HkuaEeg/viewform

นอกจากนี้ โครงการนี้ ยังสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ที่มีหลักการประการหนึ่งในการให้บทบาทและความสำคัญแก่บุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยกำหนดไว้ในมาตรา 42 ที่กล่าวถึงนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ต้องมีเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) หรือ National Cyber Security Agency : NCSA

ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ระเบียบ มาตรการ มาตรฐานขั้นต่ำ แนวทางปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน ตลอดจนความมั่นคงของรัฐ และ ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยประสานงาน เฝ้าระวัง รับมือและแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ เมื่อมีเหตุภัยคุกคามเกิดขึ้น อย่างมีนัยสำคัญให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศดำเนินการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม และรายงานต่อสำนักงานและหน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแลโดยเร็ว และสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากพบการโจมตีทางไซเบอร์ สามารถติดต่อและส่งเอกสารได้ที่ ncert@ncsa.or.th

- Info S 22536238 scaled - ภาพที่ 1

ข่าวประชาสัมพันธ์ถูกโพสต์ หรือเขียนขึ้นโดย: NCSA Thailand

ทางทีม Digitalmore ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเขียนข่าวหรือโพสต์ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ เว็บเป็นเพียงสื่อกลาง ที่เปิดให้เจ้าของข่าวประชาสัมพันธ์หรือตัวแทนโดยชอบธรรมได้โพสต์ด้วยตัวเอง

ติดตามเพจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

บันทึก