เพราะรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ทุกวัน พีทีที สเตชั่น เปิดโลกสถานีบริการน้ำมัน ชุบ 7 โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “Living Community”

- infographic ptt tn - ภาพที่ 1

ต้อนรับวันสิ่งแวดล้อมโลก 2022 ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี หนึ่งในวันสำคัญของโลกใบนี้ที่เปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของผู้คนนับล้านทั่วทุกมุมโลก โดยปีนี้ทั่วทุกประเทศต่างพร้อมใจออกมารณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลกร่วมกัน ภายใต้สโลแกน Only One Earth (หนึ่งเดียวในโลก) และพร้อมเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและทางเลือกต่างๆ เพื่อให้มีชีวิตที่สะอาดขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนสอดรับกับธรรมชาติ เฉกเช่นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปกป้องรักษาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพราะหากทั่วโลกระดมพลังร่วมแรงร่วมใจกันอย่างต่อเนื่องก็จะนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ยั่งยืนได้

- PTT Station POP tn - ภาพที่ 3

แต่ใช่ว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เห็นผลไม่ได้ทำได้เพียงในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งที่ PTT Station (พีทีที สเตชั่น) ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ผู้นําธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ ผ่านสินค้าและบริการที่ครบครัน รวมทั้งพลังงานทางเลือกที่เป็นผู้ริเริ่มการจําหน่ายและให้บริการมาโดยตลอด กลับมองว่า “การรักษ์สิ่งแวดล้อมทำได้ในทุกวัน” และการบริหารธุรกิจก็มิใช่เพียงการโฟกัสไปยังมูลค่าด้านตัวเลข แต่เป็นการส่งต่อคุณค่าที่ยิ่งใหญ่กว่าด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเสมอ และส่งเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ ได้มุ่งมั่นใส่ใจและพร้อมดูแล เติมเต็มให้สิ่งแวดล้อม จึงได้สร้างสรรค์โครงการด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ภายใต้แนวคิด “Living Community” เติมเต็มให้สิ่งแวดล้อม โดยสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปได้มากมาย นับตั้งแต่เปิดโครงการมา

เนื่องในโอกาสพิเศษเช่นนี้ วันนี้จะพาไปสำรวจ 7 โครงการด้านสิ่งแวดล้อมของ พีทีที สเตชั่น ที่เป็นมากกว่าสถานีน้ำมันกันว่ามีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันเลย!

  • “EV Station Pluz” สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ผู้ให้บริการพลังงานทางเลือกทั่วประเทศ
    ประเดิมด้วย EV Station PluZ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้บริการพลังงานทางเลือก รองรับความต้องการของผู้บริโภคที่ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า โดยปัจจุบันมี EV Station Pluz ในพีทีที สเตชั่น แล้วกว่า 96 แห่งทั่วประเทศ ขณะเดียวกันยังรองรับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าประเภท BEV และ PHEV ที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งในสภาวะโลกร้อนเช่นนี้ รถยนต์ไฟฟ้าคือคำตอบที่เหมาะสมอย่างยิ่ง สําหรับการลดมลภาวะของโลก เพราะไม่มีการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่ก่อให้เกิดไอเสียและมลภาวะทางอากาศที่นําไปสู่ภาวะโลกร้อน เช่น ควันไอเสียของรถยนต์ โดยจะเดินหน้าขยายเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใน พีทีที สเตชั่น ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมสะสม 300 แห่งในปี 2565

- 1.2 EV Station CU App tn - ภาพที่ 5

- EV Station tn - ภาพที่ 7

  • “Solar Rooftop” แหล่งพลังงานสะอาดของ PTT Station
    ต่อมา Solar Rooftop แหล่งพลังงานสะอาดของ พีทีที สเตชั่น ช่วยลดต้นทุนพลังงานให้กับสถานีบริการในทุกช่วงเวลา และสถานประกอบการที่ต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมสร้างองค์ความรู้ภาคครัวเรือน เข้าถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงาน โดยสามารถลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้ากว่า 24%

- 4.9 Solar Roof Aerial Shots tn - ภาพที่ 9

  • “แยก แลก ยิ้ม” สร้างสุขกับการแยกขยะ ณ PTT Station ทั่วประเทศไทย
    การสร้างจิตสํานึก และพฤติกรรมในการแยกขยะเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญทีเดียว จึงนำมาสู่การสร้างโครงการ “แยก แลก ยิ้ม” ณ พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศไทย เพื่อให้จุดเริ่มต้นของรอยยิ้มทุกคนเริ่มจากการ ‘แยก’ ขยะในมือของคุณ อีกทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนเป็นประโยชน์ เพื่อนำไปสร้างเป็นรอยยิ้มให้ชุมชนได้ โดยผ่านขั้นตอน ดังนี้ 1. แยกแลกยิ้มเพื่อ “ตัวเรา” แยกประเภทขยะผ่านถังขยะ 3 ใบ โดยถังสีชมพู สำหรับขวดแก้วและกระป๋อง ถังสีเหลือง สำหรับขวดพลาสติก PET และถังสีน้ำเงิน สำหรับขยะทั่วไป เช่น เศษอาหาร เศษกระดาษ ถุงพลาสติก กล่องนม แก้วน้ำ 2. แยกแลกยิ้มเพื่อ “บุคลากรองค์กร” พนักงานของ พีทีที สเตชั่น จะคอยเก็บ คัดแยก และนำขยะจำพวกขวดแก้ว กระป๋อง และขวดพลาสติกไปขาย โดยเงินที่ได้จากการขายขยะ จะถูกนำมาเก็บสะสมและลงบันทึกไว้ และ 3. แยกแลกยิ้มเพื่อ “ชุมชน” เมื่อสะสมจำนวนเงินได้มากพอ พีทีที สเตชั่น จะนำเงินส่วนนั้นไปแลกเปลี่ยนเป็นประโยชน์ สร้างเป็นรอยยิ้มให้ชุมชน อาทิ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์การแพทย์ สร้างห้องน้ำสาธารณะ บริจาคเงินเพื่อการกุศล หรือทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาโครงการแยกแลกยิ้ม ในปี 2564-2565 ได้ช่วยเหลือชุมชนไปแล้วกว่า 1,525,654 บาท และสนับสนุนโครงการ อีก 8,818,016 บาท รวมมูลค่ากว่า 10,343,670 บาท

- 4.4 แยกแลกยิ้ม มุมใกล้ 0019 tn - ภาพที่ 11 - 4.4 แยกแลกยิ้ม มุมใกล้ 0034 tn - ภาพที่ 13

  • “ฃวดแลกยิ้ม” ตู้รับคืนขวดพลาสติก จุดประกายให้ผู้คนหันมาแยกขยะมากยิ่งขึ้น
    สำหรับโครงการ “ฃวดแลกยิ้ม” ได้ต่อยอดมาจากโครงการ “แยก แลก ยิ้ม” โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาร่วมผลิตตู้รับคืนขวดพลาสติก (PET) ซึ่งผู้ที่นำมาขวดที่ใช้แล้วมาคืนที่ตู้ จะได้สะสมคะแนนเพื่อรับคูปองส่วนลดราคาเครื่องดื่มที่ Café Amazon หรือเพื่อบริจาคเข้าส่วนกลางสำหรับสร้างประโยชน์ส่วนรวมต่อไป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับการกระแสตอบรับที่ดี สามารถจุดประกายให้ผู้บริโภคหันมารวมกันแยกขยะมากยิ่งขึ้น ซึ่งสถานีที่ให้บริการตู้ขวดแลกยิ้มในปัจจุบัน ได้แก่ พีทีที สเตชั่น สาขา ปตท.สนญ. สาขาประชาอุทิศ-ลาดพร้าว และสาขาวิภาวดี (เดิม ร.1 รอ.) โดยการแยกขยะสามารถลดปริมาณขยะ ไปแล้ว 6.6 ตัน หรือสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ได้มากกว่า 4,640 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซต์

- 4.5 ขวดแลกยิ้ม แก้วแลกยิ้ม ใน Amazon CU tn - ภาพที่ 15 - 4.5 ขวดแลกยิ้ม แก้วแลกยิ้ม ด้านหน้าตู้ tn - ภาพที่ 17

  • “พลาสติก (คืน) สุข” สู่การอัพรีไซเคิลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
    ด้านโครงการพลาสติก(คืน)สุข หรือ “Plastic Reborn” เป็นความร่วมมือของบริษัท GC และ OR จัดตั้งจุดรับขยะพลาสติก เพื่อนำพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบรีไซเคิล หรืออัพรีไซเคิลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นโครงการต้นแบบที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ปัญหาขยะพลาสติกในสังคมไทยดีขึ้นได้ ด้วยการนำพลาสติกใช้แล้วกลับสู่ระบบ แล้วสร้างมูลค่าเพิ่มอีกครั้งผ่านกระบวนการรีไซเคิลหรืออัพไซเคิล จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่า และช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใหม่ได้ด้วย โดยโครงการฯ รับขยะพลาสติก 2 ชนิด คือ 1. พลาสติกยืด เช่น พลาสติกหูหิ้ว ถุงพลาสติกใส่อาหาร พลาสติกแรป และ 2. พลาสติกแข็ง เช่น ขวดพลาสติกใสและขุ่น แก้วเครื่องดื่มพลาสติก กล่องใส่อาหาร นอกจากนี้ พีทีที สเตชั่น ยังได้ต่อยอดเป็นโครงการ “แยกขวดช่วยหมอ” ซึ่งตลอดระยะเวลาโครงการทั้งหมด สามารถนําขวด PET กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล จำนวน 6 ล้านขวด หรือรวมจำนวน 107 ตัน และนําไปผลิตชุด PPE ชนิดซักได้ซ้ำ 20 ครั้งส่งมอบให้โรงพยาบาลแล้ว 50 แห่ง จํานวน 6,345 ชุด

- 4.6 Plastic Reborn ทิ้งขยะ tn - ภาพที่ 19

  • “Bio Product” วัสดุย่อยสลายง่ายมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในร้านค้า
    จากวัสดุย่อยสลายง่าย โครงการ Bio Product ก็ได้นำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใส่ใจสิ่งแวดล้อมสำหรับการใช้งานภายในร้าน เช่น แก้วร้อน BIO แก้วเย็น PLA และหลอด BIO ห่อกระดาษผลิตจากพืช รวมถึงสนับสนุนการใช้ถุงกระดาษทดแทนถุงพลาสติกใส่เบเกอรี่ โดยโครงการนี้สอดรับกับเป้าหมายของ พีทีที สเตชั่น ที่ต้องการสร้างสังคมแบบ Low Carbon Society ที่จะช่วยสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสําหรับทุกคนด้วยปริมาณคาร์บอนและขยะที่ลดลง ดังนั้นหากเดินเข้าไปในร้าน Café Amazon แล้วลองสังเกตก็จะพบบรรจุภัณฑ์ Amazon Bio Cup ที่ผลิตขึ้นจากวัสดุย่อยสลายง่าย ซึ่งนับเป็นอีกก้าวสําคัญเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในส่วนของชุมชน สังคม และธุรกิจ

- 4.14 Amazon Go Green S013 Packshots tn - ภาพที่ 21 - 4.14 Amazon Go Green S014 Packshots Shirt CU tn - ภาพที่ 23

  • “Zero Waste” แปลงขยะใน พีทีที สเตชั่น เป็นรายได้แก่ชุมชน
    ส่งท้ายด้วย Zero Waste เป็นโครงการที่นําขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ทั้งหมดนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างเป็นรายได้เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือชุมชนบริเวณโดยรอบ ผ่านการปั้นโครงการย่อยต่างๆ ดังนี้ โครงการต้นแบบการจัดการขยะ ณ PTT Station โครงการต้นแบบการจัดการขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) ณ พีทีที สเตชั่น สาขาสระบุรี โดยโครงการเหล่านี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทําให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากการขนถ่ายขยะและการบริหารจัดการขยะ ณ แหล่งกําเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ยังได้สร้าง ‘ศูนย์ปฏิบัติการและศูนย์เรียนรู้ในการจัดการขยะเหลือศูนย์ในสถานีบริการน้ำมัน’ โดยเปิดให้ผู้ใช้บริการหรือชุมชนโดยรอบสามารถเข้ามาศึกษาการจัดการขยะ การสร้างประโยชน์จากขยะ สู่การสร้างรายได้จากขยะ พร้อมนำความรู้กลับไปประยุกต์ใช้ในบ้านเรือนต่อไปอีกด้วย

- 4.11 โครงการ Zero Waste 2 tn - ภาพที่ 25 - 4.11 โครงการ Zero Waste 1 tn - ภาพที่ 27

เหล่านี้ก็นับเป็นโครงการที่ พีทีที สเตชั่น เดินหน้าใส่ใจและพร้อมดูแล เติมเต็มให้สิ่งแวดล้อม ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่หยุดเพียงเท่านี้ เพราะการรักษ์สิ่งแวดล้อมทำได้ทุกวันนั่นเอง

สามารถติดตามเรื่องราวของการเติมเต็มทุกความสุขเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก PTT Station