อาการบวมน้ำ เกิดจากอะไร? อาการบวมน้ำ เป็นอาการที่ใครหลาย ๆ คน ต้องเคยเป็น เพราะอาการบวมน้ำ สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพียงแค่คุณทานอาหารรสเค็มจัด หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ก็สามารถทำให้คุณตัวบวมได้ทั้งตัว แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัย และสาเหตุอื่นที่ทำให้คุณบวมน้ำได้ ซึ่งวันนี้เราก็จะพาคุณไปดูสาเหตุของอาการบวมน้ำ และวิธีแก้อาการบวมน้ำกันค่ะ ถ้าอยากรู้แล้ว ก็ไปชมพร้อมกันเลยค่ะ
อาการบวมน้ำ ที่ทำให้ตัวบวมได้ง่าย ๆ โดยไม่รู้ตัว
ที่มา : 7steakhouse.com
สาเหตุของอาการบวมน้ำ เกิดจากอะไร?
อาการบวมน้ำ เป็นอาการที่ร่างกายมีการสะสมเก็บกักน้ำเอาไว้ในเซลล์ภายในร่างกายมากเกินไป จึงออกเป็นอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้าบวม ขาบวม ตาบวม พุงบวมป่อง ฯ ซึ่งการเกิดอาการบวมน้ำ สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุ ดังต่อไปนี้
- การรับประทานอาหารโซเดียมสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
- การนั่งหรือยืนนานเกินไป
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้ร่างกายพยายามเก็บรักษาน้ำไว้ในร่างกาย
- มีประจำเดือน ซึ่งประจำเดือนอาจผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้
- ขาดการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกาย สามารถช่วยให้ร่างกายสามารถขับของเสียออกได้ดี ซึ่งทำให้สามารถขับบรรดาโซเดียมออกจากร่างกายได้
ที่มา : meanmuscles.com
ทำไมโซเดียมทำให้บวม ?
การรับประทานโซเดียมที่ปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ จะทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้ใต้ผิว และเนื้อเยื่อในร่างกายบริเวณต่าง ๆ ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และร่างกายดูบวมกว่าปกติ บวมออกทั้งร่างกาย และหน้า ซึ่งเป็นที่มาของ อาการบวมน้ำ
ที่มา : freshngo.my
ประเภทของอาหารที่มีโซเดียมอยู่
- อาหารจากธรรมชาติ ปกติโซเดียมมีอยู่แล้วในทุกอาหาร เพราะได้มาจากเนื้อสัตว์ และผักผลไม้ แต่เป็นปริมาณโซเดียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงสามารถรับประทานได้ปกติ แต่อาจลดการปรุงรส
- อาหารจากการถนอมอาหาร การจะทำการถนอมอาหารได้อยู่ยาวนานมากขึ้นจำเป็นต้องใช้โซเดียมช่วย จึงเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงมาก ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เช่น อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง
- เครื่องปรุงรส ในเครื่องปรุงรสมีโซเดียมอยู่ในทุกชนิด เพียงแต่มีความน้อยหรือมากแตกต่างกัน สามารถดูปริมาณได้ในฉลาก หรือหากรับประทานอาหาร อาจลดการปรุงรสน้อยลง เพื่อลดปริมาณโซเดียมได้
ที่มา : askthescientists.com
วิธีแก้อาการบวมน้ำ
- หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปต่าง ๆ เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เช่น กิมจิ ผักดอง ปลาร้า
- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ไตทำงานได้มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ของเหลวในร่างกายที่เพิ่มขึ้น ไม่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ
- รับประทานกล้วย เพราะในกล้วยมีโพแทสเซี่ยม ช่วยจำกัดโซเดียมในร่างกายเราได้
- ออกกำลังกาย หลังจากเรารับประทานอาหารที่มีโซเดียมมาก ควรเผาผลาญพลังงานออกบ้าง ซึ่งร่างกายสามารถระบายโซเดียมออก ผ่านเหงื่อของเรานั่นเอง
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะเวลาที่เราพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำงานผิดปกติ ส่วนหนึ่งก็ทำให้เกิดอาการบวมน้ำขึ้นได้ ดังนั้น ก็ควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
อาการบวมน้ำ ไม่ได้ส่งผลแค่เพียงทำให้คุณตัวบวมเท่านั้น แต่อาจส่งผลร้ายต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการใจเต้นแรง และเร็ว ไปจนถึงไม่สามารถหลับได้สนิทในตอนกลางคืน เป็นผลมาจากความดันโลหิตที่อาจพุ่งสูงขึ้นหลังจากที่ทานอาหารที่มีโซเดียมสูงนั่นเอง ถ้าหากคุณรับประทานโซเดียมในปริมาณที่พอดี โซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาระดับความดันโลหิต และดูดซึมสารอาหารในไต และลำไส้เล็ก นอกจากนี้ก็อย่าลืมเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ