ปัจจุบันความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เนื่องสถานการณ์โควิด-19 และสภาวะความผันผวนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ ข่าวสารทั้งใน และต่างประเทศ รวมไปถึงการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน จนเกิดความเครียดสะสม และส่งผลกระทบต่อชีวิตในหลายด้าน
ดังนั้น การทำความเข้าใจ และรู้วิธีรับมือกับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับความเครียด สัญญาณของอาการเครียดสะสม การดูแลตนเองเมื่อรู้สึกเครียด และการรักษาอาการเครียดสะสม ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
ความเครียดสะสม อันตรายกว่าที่คิด
ความเครียดเกิดจากอะไร?
ที่มา: lalsace.fr
ความเครียด (Stress) เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเพศทุกวัย ปัจจุบันนี้พบว่า คนส่วนใหญ่มักมีอาการเครียดสะสม อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่ตึงเครียด บางรายมีความกดดันมาก และมีความคาดหวังในชีวิตสูงซึ่งพอไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง ทำให้มีอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน ในบางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือ โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้ในอนาคต
สัญญาณของอาการเครียดสะสม
ที่มา: liveboldandbloom.com
- พฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น นอนไม่หลับ ตื่นเร็วเกินไป หรือ ชอบตื่นกลางดึก
- พฤติกรรมทางอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย เบื่อหน่ายชีวิต วิตกกังวล และหน้าตาเศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง
- อาการเครียดที่แสดงออกทางกาย เช่น หายใจถี่ขึ้น หรือ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว บางรายมีอาหารปวดหัวร่วม
- ผู้ที่มีความเครียดสะสมมาก ๆ อาจมีอาการเครียดจนอยากตาย
ความเครียด และโรคต่าง ๆ
ที่มา: medhelp.se
ภาวะเครียดสะสมส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ซึ่งโรคที่เกิดจากภาวะเครียดสะสม มีดังต่อไปนี้
- โรควิตกกังวล
- โรคกลัว (โฟเบีย)
- โรคแพนิค
- โรคเครียดที่มีอาการทางกาย
- โรคเครียดภวังค์
- โรคย้ำคิดย้ำทำ
- โรคซึมเศร้า
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคเครียดลงกระเพาะ
- โรคนอนไม่หลับ
- โรคไมเกรน
การดูแลตนเองเมื่อรู้สึกเครียด
ที่มา: todayeditor.com
- พยายามมองโลกในแง่บวก วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น ๆ
- จัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวใหม่ เช่น การจัดบ้านใหม่หรือโต๊ะทำงาน เพื่อลดอาการเบื่อหน่ายหรือความจำเจ
- บำบัดตัวเองง่าย ๆ ด้วยสิ่งที่ตนเองชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง วาดภาพ ออกกำลังกาย เป็นต้น
- ออกไปหาสถานที่ผ่อนคลาย เช่น ไปเที่ยวทะเล ไปเดินห้างสรรพสินค้าหรือไปสวนสาธารณะ
- พบปะเพื่อนฝูงหรือใช้เวลากับครอบครัว การที่เราสามารถพูดคุยหรือปรึกษาปัญหาที่เรากำลังเผชิญนั้น สามารถลดความเครียด ความกดดันในชีวิตได้
การรักษาอาการเครียดสะสม
ที่มา: highestpayingjobs.org
ความเครียดสะสมเป็นภาวะที่สร้างความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในบางรายที่มีอาการเครียดสะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้ การไปพบจิตแพทย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่หาทางออกจากภาวะเครียดสะสมไม่ได้ หลายคนมักเข้าใจว่าการไปพบจิตแพทย์ คือ เรามีภาวะจิตไม่ปกติ แต่ในความจริงแล้ว การไปพบจิตแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่ช่วยให้เราบรรเทาอาการเครียดสะสม ซึ่งจิตแพทย์จะให้คำปรึกษาและบำบัดให้เราอย่างถูกต้อง เพื่อคลายความเครียดอย่างถูกวิธีนั่นเอง
ความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และแต่ละคนก็มีการจัดการความเครียดที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าหากคุณรู้สึกเครียด วิตกกังวล จนไม่สามารถควบคุมความรู้สึกเหล่านี้ได้ หรือมีความเครียดสะสมต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานานจนไม่มีความสุข และมีอาการที่มีผลต่อชีวิตประจำวัน พบอาการทางกาย อาการทางอารมณ์ ควรปรึกษาพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด
ข้อมูล: sikarin.com , fwd.co.th และ krungthai-axa.co.th