เหงื่อออกมือ เรื่องปกติ หรือ สัญญาเตือนโรค?

- sweaty hands cover - ภาพที่ 1

เหงื่อออกมือ เป็นสิ่งที่สามารเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาจจะเกิดจากการทำกิจกรรม หรือมาจากสภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่สำหรับบางคน อากาศก็ไม่ร้อน ใช้ชีวิตอยู่ในห้องแอร์ อากาศเย็น แถมไม่ได้ตื่นเต้น กลับมีเหงื่อออกมามากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะทำให้ใครหลาย ๆ คนสงสัยว่าอาการเหงื่อออกมือแบบนี้จะมีอันตรายหรือเป็นสัญญาเตือนโรคได้หรือไม่ ดังนั้น วันนี้เราจะพาคุณไปดูว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติเช่นนี้กันค่ะ

- sweaty hands 01 - ภาพที่ 3

ที่มา: hidroxa.com

เหงื่อออกมือแบบไหนจัดว่าผิดปกติ

คนเราทุกคนย่อมมีเหงื่อออกได้ แต่ถ้ามีเหงื่ออกในลักษณะต่อไปนี้อาจจัดว่าอยู่ในภาวะที่ผิดปกติ

  • เหงื่อออกมากจนเห็นได้ชัด ในวันที่อากาศไม่ร้อน ไม่มีอาการตื่นเต้นหรือเครียด และไม่ได้เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย
  • เหงื่อออกไม่เป็นเวลา
  • เหงื่อออกมากจนรู้สึกว่ามีผลกระทบ หรือสร้างปัญหา ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน บางคนอาจมีเหงื่อออกมามากโดยเฉพาะบริเวณมือ

- sweaty hands 03 - ภาพที่ 5

ที่มา: conclud.com

สาเหตุเหงื่อออกมือ

ทางการแพทย์จะแบ่งกลุ่มผู้มีภาวะเหงื่อออกมือที่ไม่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยรอบตัว เป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้

  • กลุ่มที่เหงื่อออกมือเพราะความผิดปกติจากโรค เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ และโรคหัวใจที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
  • กลุ่มที่เหงื่อออกมือโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ในชีวิตได้ง่าย รวมไปถึงความสัมพันธ์กับพันธุกรรม โดยมีญาติสายตรง หรือพ่อแม่ที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติได้เช่นกัน

อันตรายจากเหงื่อออกมือ

ปกติแล้วภาวะเหงื่อออกมือ ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด จะมีแค่ในบางกรณีอาจสื่อถึงผลข้างเคียงของโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน โดยเฉพาะโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญสูง ส่วนโรคหัวใจ ไม่มีผลทำให้เหงื่อออกมือตามที่กล่าวถึงกันมาก

ถึงแม้การมีเหงื่อออกตามมือมากผิดปกติจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจสร้างความกังวลใจ ความไม่มั่นใจ และไม่กล้าเข้าสังคม ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัย และรับการรักษาที่ตรงจุด เพื่อให้คนไข้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

- sweaty hands 02 - ภาพที่ 7

ที่มา: istockphoto.com

การรักษาอาการเหงื่อออกมือ

สำหรับการรักษาอาการเหงื่อออกมือ มีตั้งแต่การเลือกใช้ยาระงับกลิ่นกาย ที่ทำให้ต่อมเหงื่อทำงาน การฉีดโบท็อกซ์ หรือการใช้กระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า ไอออนโตฟอรีซีส (Iontophoresis) และการรักษาที่ได้ผลระยะยาวได้ และสามารถเห็นผลได้ทันที อย่าง การรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง

ดังนั้น เหงื่อออกมือครั้งต่อไป อย่าลืมสังเกตว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะจุดสังเกตเล็ก ๆ เหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณถึงเตือนความผิดปกติในร่างกายของคุณได้นะคะ

ข้อมูล: phyathai.com และ samitivejhospitals.com

ติดตามเพจ