อาการชอบดึงผมตัวเอง พฤติกรรมใกล้ตัว ที่ไม่ควรมองข้าม

- Trichotillomania cover - ภาพที่ 1

สำหรับใครที่รู้ตัวว่าชอบดึงผมตัวเองอยู่เป็นประจำ คุณรู้หรือไม่ว่า การดึงผมตัวเองแบบนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งอาการทางจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษา ซึ่งโรคนี้มีชื่อเรียกว่า โรคดึงผม ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับโรคดึงผม สาเหตุของโรค และการรักษา ถ้าไม่อยากให้ผมของคุณร่วงหนัก จนเริ่มแหว่ง รีบไปดูกันเลยค่ะ

- Trichotillomania 03 - ภาพที่ 3

โรคดึงผมตัวเอง

โรคดึงผมตัวเอง หรือ Trichotillomania ผู้ป่วยจะมีอาการดึงผมหรือขนตามร่างกายของตนเอง โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ ขนตา ขนคิ้ว หรือขนตามตัว โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วย เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้ตัวขณะดึงผม โดยการกระทำขณะที่รู้ตัวผู้ป่วยอาจจะรู้สึกไม่สบายหนังศีรษะ คัน หรือรู้สึกยุกยิก ๆ รวมไปถึงรู้สึกว่าเส้นผมไม่ตรงไม่เรียบทำให้อยากดึงออก เมื่อดึงออกแล้วจะรู้สึกสบายใจขึ้น รู้สึกโล่งขึ้น และกลุ่มที่ดึงผมโดยไม่รู้ตัว ขณะที่การดึงผมโดยไม่รู้ตัว มักจะดึงระหว่างทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ ทำงาน เป็นต้น เป็นการกระทำแบบเผลอที่ไม่รู้ตัว และไม่ได้ตั้งใจ

สาเหตุของโรคดึงผม

เป็นโรคความผิดปกติในการยับยั้งพฤติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าโรคนี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของสมอง และสารเคมีในสมอง เช่น การสร้างนิสัย ความเคยชิน และความยับยั้งชั่งใจ
  • ความผิดปกติทางอารมณ์ และจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ของตนเอง
  • พันธุกรรม

วิธีการรักษา

ในกรณีที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก่อนอื่นต้องให้ผู้ป่วยรู้ตัวก่อนว่าเป็นโรคชอบดึงผม โดยเฉพาะในกรณีที่ดึงโดยไม่รู้ตัว เพื่อให้ผู้ป่วยควบคุมพฤติกรรมของตัวเอง แต่อย่าใช้วิธีการดุว่าหรือตำหนิแรง ๆ ให้ใช้วิธีเตือนให้เหมาะสม เพราะถ้าหากใช้อารมณ์ในการตำหนิ ผู้ป่วยอาจจะยิ่งดึงผมมากขึ้นก็ได้ หรือให้ผู้ป่วยหรือคนรอบข้างลองสังเกตพฤติกรรมก่อนว่าเวลาดึงผม ผู้ที่เป็นมักดึงผมตัวเองเวลาไหน เวลาเหงา เศร้า เบื่อ หรือเครียด เป็นต้น หรือชอบดึงผมในสถานการณ์ใด เช่น ขณะนั่งดูโทรทัศน์ ขณะนอนอยู่ในห้อง ฯลฯ เมื่อผู้ป่วยรู้ตัวแล้วก็จะควบคุมตัวเองได้ง่ายขึ้น สำหรับวิธีการรักษานอกเหนือจากนี้ก็คือการให้ยา โดยผู้ป่วยต้องไปปรึกษาแพทย์ก่อนเมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตนเองมีอาการเหล่านี้

เนื่องจากในปัจจุบันคนมีความเครียดเพิ่มมากขึ้น ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อสภาวะจิตใจ ทำให้มีอาการทางจิตเวชโดยไม่รู้ตัว ซึ่งโรคดึงผม ก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้น จึงควรได้รับการรักษา เนื่องจากโรคดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ และสภาวะจิตใจได้ ดังนั้น ถ้าคุณรู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นโรคนี้ ให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง และถ้ายังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาค่ะ

ข้อมูล: pobpad.com , rama.mahidol.ac.th และ drornhaircenter.com

รูปภาพ: vedix.com skinkraft.com portalsete.com.br

ติดตามเพจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

บันทึก