ทรู ยกระดับเกราะป้องกันภัยไซเบอร์แบบครบวงจร ให้ลูกค้ามั่นใจ ปลอดภัยในทุกมิติการใช้บริการ

- Digital PR True Cyber Care Cover - ภาพที่ 1

ปัจจุบัน วิถีชีวิตของผู้คน พึ่งพาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น การทำธุรกรรมต่าง ๆ สามารถทำได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส สะดวกและรวดเร็ว แต่ความทันสมัยเหล่านี้ กลับกลายเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพแทรกแซงเข้าสร้างอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความ SMS หลอกลวงในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่สร้างความเดือดร้อนเสียหายที่นับวันจะเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ

ล่าสุด Whoscall แอปพลิเคชันช่วยตรวจสอบหมายเลขมิจฉาชีพ ได้เปิดเผยสถิติในปี พ.ศ. 2564 ว่าพบการหลอกลวงผ่านการโทร และส่งข้อความ SMS รวมกว่า 460 ล้านครั้ง สำหรับในประเทศไทย พบการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวงมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 270% จากปี พ.ศ. 2563 และพบการส่งข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นถึง 57%

มีการคาดการณ์ว่า การหลอกลวงลักษณะนี้ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งด้านมิจฉาชีพเอง ก็ได้มีการพัฒนารูปแบบของการหลอกลวงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนหลงเชื่อ และพลั้งเผลอไปกดให้ข้อมูลโดยไม่ตั้งใจโดยแฝงมากับรูปแบบ SMS ต่างๆ ที่ทั้งทำให้เรารำคาญและอาจเสียทรัพย์ได้

ปัญหาและภัยไซเบอร์ที่พบบ่อยในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น SMS กินเงิน, SMS ขยะ (Junk SMS / Spam SMS) รวมถึง เบอร์โทรจากกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของภัยไซเบอร์ที่ยังคงคุกคามอย่างต่อเนื่อง

ที่ผ่านมา หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พยายามหามาตรการป้องกันและแก้ไขอย่างเต็มที่  โดย ทรูมูฟ เอช มีความห่วงใย ใส่ใจดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้ทันต่อสถานการณ์ภัยไซเบอร์อย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความมั่นใจให้แก่ลูกค้าในทุกมิติการใช้บริการ ดังนี้

ปลอดภัย จาก SMS กินเงิน

- true proactive protection - ภาพที่ 3

ทรูมูฟ เอช เพิ่มความสบายใจให้กับลูกค้า ในการใช้บริการเสริมคอนเทนต์ผ่านข้อความสั้น (SMS Content) และตั้งใจแก้ไขปัญหา SMS กินเงิน ที่มีการเรียกเก็บค่าบริการเสริม โดยไม่ได้สมัคร ซึ่งอาจเกิดจากการสมัครบริการเสริมโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือ ถูกมัลแวร์ที่แฝงอยู่ในเครื่องโทรศัพท์ทำการสมัครเองโดยอัตโนมัติ  ทรูมูฟ เอช จึงได้ยกระดับความปลอดภัยไปอีกขั้น ดังนี้

  • อัปเกรดระบบยืนยันตัวตนผ่าน OTP ทุกครั้งที่สมัครบริการเสริม SMS เป็นการป้องกันแบบ Proactive (Proactive Protection) ก่อนจะมีการเรียกเก็บค่าบริการ และมีการส่ง SMS ยืนยันการสมัครบริการทันทีทุกครั้งที่มีการสมัครใช้บริการ เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมต่างๆ ที่จะต้องยืนยันด้วย OTP
  • ร่วมมือกับผู้ให้บริการเนื้อหาทุกราย ทั้งในและต่างประเทศ (SMS Content Providers) ในการดำเนินการตามข้อปฏิบัติของบริษัท โดยให้มีขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน OTP และส่ง SMS ยืนยันการสมัครบริการเสริมทุกครั้ง

นอกจากนี้ ความใส่ใจของทรู ยังต่อยอดไปถึง การดูแลลูกค้าในกรณีที่พบปัญหาบริการเสริม SMS Content โดยได้จัดเตรียมช่องทางพิเศษในการดูแลลูกค้าโดยเฉพาะ ดังนี้

- True SMS Call Center - ภาพที่ 5

  • ศูนย์เฉพาะรับแก้ไขปัญหาบริการคอนเทนต์ดาวน์โหลด โทร 02 700 8085
    ให้บริการสอบถาม ยกเลิก และแจ้งปัญหาการถูกเรียกเก็บค่าบริการจากการดาวน์โหลดคอนเทนต์ สำหรับลูกค้าทรูมูฟ เอช โทรฟรี (ทุกวัน เวลา 9.00-18.00 น.)
  • ยกเลิกรับข้อความประชาสัมพันธ์ผ่าน SMS กด *137 แล้วกดโทรออก
    กด 1 ตรวจสอบ SMS ที่ถูกคิดค่าบริการ
    กด 2 ยกเลิก SMS ข้อความประชาสัมพันธ์
    กด 3 ยกเลิก SMS ที่ถูกคิดค่าบริการ
    (ลูกค้าทรูมูฟ เอช โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง)
  • สำหรับชาวออนไลน์ คนโซเชียล ที่สะดวกทำรายการต่างๆ ด้วยตนเอง สามารถใช้บริการผ่านช่องทาง Online Self-Service ให้บริหารจัดการบริการเสริม SMS ง่ายๆ ด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน True iService โดยสามารถตรวจสอบบริการ SMS ที่สมัครไว้ หรือยกเลิกบริการ SMS ได้ด้วยตัวเอง

คลายปัญหา SMS กวนใจ (Junk SMS/Spam SMS) และ เบอร์โทรจากกลุ่มมิจฉาชีพ

ทรูมูฟ เอช ไม่ได้นิ่งนอนใจ และเดินหน้าแก้ไขปัญหา SMS กวนใจ พร้อมขยายความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วน เพื่อปกป้องลูกค้าจากความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ดังนี้

- True Hotline 9777 - ภาพที่ 7

  • Hotline 9777 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรต้องสงสัย และ SMS มิจฉาชีพ โดยร่วมมือกับ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) หรือ ศูนย์ PCT และ กสทช. สำหรับลูกค้าทรูมูฟ เอช โทรฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง กรณีพบเป็นเบอร์โทร หรือ SMS จากมิจฉาชีพจริง จะดำเนินการบล็อกเบอร์โทร หรือ SMS นั้นทันที และประสานงานไปยังหน่วยงานภาครัฐเพื่อสืบค้นและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป พร้อมขยายบริการรับเรื่องร้องเรียนผ่าน “มะลิ AI” บนแพลตฟอร์มทรูไอเซอร์วิส (True iService)
  • ใส่เครื่องหมาย +697 นำหน้าหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อให้ทราบว่าเป็นการโทรจากต่างประเทศ และบล็อกหมายเลขต้องสงสัยเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงผู้บริโภค ด้วยความร่วมมือกับ กสทช.
  • บล็อกข้อความที่มีลักษณะไม่เหมาะสม อาทิ ลามกอนาจาร หลอกลวง และการพนันออนไลน์ ตลอดจนเน้นย้ำมาตรการ กับบริษัทคู่สัญญา ที่ใช้บริการส่ง SMS ผ่านเครือข่ายทรูมูฟ เอช โดยหากตรวจพบว่ามีการส่งข้อความที่ไม่เหมาะสม บริษัทฯ จะดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายทันที รวมถึงประสานงานกับผู้ให้บริการที่มีการส่ง SMS จากต่างประเทศ พร้อมร่วมมือกับผู้ให้บริการรายอื่นในการรวบรวมข้อมูล อาทิ ชื่อผู้ส่ง SMS (SMS Sender Blacklist), ตัวอย่างข้อความ SMS ลามกอนาจาร หลอกลวง และการพนันออนไลน์ เพื่อร่วมกันป้องกันไม่ให้มีการส่งข้อความไม่เหมาะสมไปยังลูกค้าผู้ใช้บริการ พร้อมรายงานต่อ กสทช.
  • ร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน “Whoscall” โดยแนะนำให้ใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าว แจ้งเตือนหมายเลขโทรเข้า หรือ SMS ต้องสงสัย เพื่อให้รู้ทันก่อนหลงเชื่อ ซึ่งจะช่วยยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

เสริมภูมิคุ้มกันให้รู้ทันภัยไซเบอร์กับ True Cyber Care

ภัยไซเบอร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบตลอดเวลา ทรูมูฟ เอช เสริมเกราะป้องกันภัยไซเบอร์แก่ลูกค้าและผู้บริโภค ผ่าน True Cyber Care ที่เว็บไซต์ www.true.th/truemoveh/site/true-cyber-care ให้ข้อมูลและแนะนำวิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพที่มีรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทร หรือ SMS หลอกลวง ปลอมแปลงเป็นผู้อื่น หรือ Phishing ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ารู้เท่าทันกลโกงก่อนหลงเชื่อ ช่วยยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

- True SMS Partner - ภาพที่ 9

ไม่ว่าสถานการณ์ภัยไซเบอร์ หรือ เล่ห์เหลี่ยมของเหล่ามิจฉาชีพจะเปลี่ยนไปอย่างไร ทรูมูฟ เอช ยังคงห่วงใย ใส่ใจในการยกระดับความปลอดภัยและเสริมเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจตลอดเวลาที่ใช้บริการทรูมูฟ เอช