Huawei เปิดตัวโซลูชัน MRP รุ่นแรกสำหรับศูนย์ข้อมูล

โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ หัวเว่ยได้มอบหมายให้ไอดีซี (IDC) เขียนรายงานสมุดปกขาว (IDC White Paper) เรื่องการพัฒนาความคล่องตัวด้านแรนซัมแวร์ด้วยโครงสร้างเครือข่าย การจัดเก็บ และการป้องกันข้อมูลหลายชั้น (Developing Ransomware Resilience with Multilayer Network, Storage, and Data Protection Architecture) ซึ่งกำหนดแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างระบบป้องกันการโจมตีแรนซัมแวร์หลายชั้น

Kaspersky เผย Ransomware เป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งขององค์กรในอาเซียน

องค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังถูกติดตามโดยอาชญากรลักพาตัวดิจิทัล แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก คาดการณ์ว่าแนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไปในปีนี้และปีต่อๆ ไป และจะใช้วิธีที่ซับซ้อนและตรงเป้าหมายมากขึ้น

แรนซัมแวร์มีพัฒนาการมาไกลตั้งแต่การโจมตีแรนซัมแวร์ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1989 และตั้งแต่ปี 2016 ผู้ประสงค์ร้ายที่อยู่เบื้องหลังภัยคุกคามนี้ได้เปลี่ยนเป้าหมายจากผู้ใช้ทั่วไปเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เหตุการณ์ที่มีผลกระทบสูงซึ่งเป็นที่รู้จัก คือแรนซัมแวร์ Wannacry ซึ่งมูลค่าของความสูญเสียที่ตามมาประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์

Kaspersky เผยบริษัทในอาเซียน 33% เคยตกเป็นเหยื่อแรนซัมแวร์หนึ่งครั้ง

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โจมตี Wannacry คำว่าแรนซัมแวร์ก็ได้กลายเป็นคำศัพท์ในโลกธุรกิจ โดยมีการโจมตีองค์กรขนาดใหญ่ปรากฏในหัวข้อข่าวทุกเดือน ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ใต้การจับตาของอาชญากรไซเบอร์ จากการวิจัยล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ พบว่าธุรกิจจำนวนสามในห้า (67%) ยืนยันว่าตนตกเป็นเหยื่อแรนซัมแวร์

Kaspersky เผย “ภัยการขโมยข้อมูล – APT – แรนซัมแวร์” ผู้บริหารธุรกิจส่วนใหญ่ในอาเซียนกังวลมากสุด

จากรายงานข่าวจำนวนมากที่เน้นความเสียหายของการโจมตีทางไซเบอร์ต่อธุรกิจและประเทศโดยรวม การศึกษาล่าสุดของแคสเปอร์สกี้เผยให้เห็นถึงความตระหนักในระดับสูงของผู้บริหารองค์กรธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ซับซ้อนทางออนไลน์ โดยระบุว่า การโจรกรรมข้อมูล การโจมตีของภัยคุกคามขั้นสูง (Advanced Persistent Threat หรือ APT) และแรนซัมแวร์ ถือเป็นข้อกังวลสูงสุด

รายงาน State of Ransomware 2022 ของ Sophos ระบุ 66% ขององค์กรทั่วโลก ถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์

โซฟอส (Sophos) บริษัทผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ระดับโลก เปิดรายงานสำรวจภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นจริง ในรายงาน State of Ransomware 2022 ซึ่งระบุว่า 66% ขององค์กรที่สำรวจถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 37% จากปี 2563 โดยองค์กรต้องจ่ายค่าไถ่ เพื่อเข้าถึงรหัสข้อมูลสำคัญที่ถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า หรือคิดเป็นเงินกว่า 812,360 ล้านดอลลาร์ (30 ล้านบาท)

วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) ผสานความร่วมมือกับ HPE และ COHESITY นำเสนอนวัตกรรมใหม่ด้าน Data Management เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญให้รอดพ้นจาก Ransomware

บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือของวีเอสที อีซีเอส กรุ๊ป ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายสินค้าไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยคุณธเนศ พันธ์สุขุมธนา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายขายและการตลาดผลิตภัณฑ์กลุ่มคอมเมอร์เชียล ประกาศความร่วมมือทางธุรกิจกับ HPE โดยคุณสุรชัย อรรถมงคลชัย ผู้จัดการประจำประเทศไทย กลุ่มธุรกิจไฮบริดไอที และ COHESITY

1 2