5 เรื่องที่คนไทยหลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Grab

Lazada

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “แกร็บ” (Grab) แอปพลิเคชันเรียกรถสุดฮอตที่เปิดให้บริการในเมืองไทยมาแล้วกว่า 6 ปี โดยปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปในบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สั่งอาหารออนไลน์ผ่าน GrabFood บริการส่งพัสดุหรือสิ่งของผ่าน GrabExpress ฟีเจอร์สั่งซื้อของสดหรือสินค้าจากซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Groceries รวมไปถึงบริการทางการเงินต่างๆ ผ่าน GrabPay และถึงแม้ว่าคนไทยจะคุ้นชินกับซูเปอร์แอปอย่างแกร็บมาเกินกว่าครึ่งทศวรรษ แต่ก็ยังมีบางเรื่องที่หลายคนยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับแอปนี้ มาดูกันว่า 5 ประเด็นหลักที่หลายคนยังสับสนเกี่ยวกับแกร็บ ประเทศไทย มีอะไรบ้าง

- INFOGRAPHIC GRAB 01 - ภาพที่ 1

“แกร็บ” เป็นบริษัทต่างชาติ ไม่เสียภาษี?

แม้ว่าแอปพลิเคชันแกร็บจะริเริ่มและก่อตั้งโดยสองนักธุรกิจชาวมาเลเซียอย่าง แอนโทนี ตัน และฮุย หลิง ตัน แต่เมื่อเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2556 แกร็บได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทสัญชาติไทยอย่างถูกต้องกับกระทรวงพาณิชย์ภายใต้ชื่อ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 2,880 ล้านบาท

ปัจจุบัน แกร็บ ประเทศไทยมีบริษัทไทยถือหุ้นอยู่ถึง 75% โดยหนึ่งในนั้นคือ กลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งได้ประกาศการลงทุนในแกร็บ ประเทศไทยในช่วงต้นปี 2562 ที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าสูงถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6,200 ล้านบาท ในฐานะบริษัทไทย แกร็บ ประเทศไทย จึงมีหน้าที่ในการเสียภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ อาทิ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายของกรมสรรพากรอย่างเคร่งครัดไม่ต่างไปจากบริษัทไทยทั่วไป

- 2020 01 22 21 22 51 - ภาพที่ 3

นั่ง “แกร็บ” มีความเสี่ยง ไร้ความคุ้มครอง?

คนที่ไม่เคยใช้บริการเรียกรถผ่านแอปอาจจะรู้สึกเสี่ยงหรือมีความกังวลในเรื่องปลอดภัย สำหรับบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชันเรียกรถชั้นนำระดับโลกแล้ว ความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสารถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่สำคัญที่สุด แกร็บให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัย

อาทิ เทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วยการเซลฟีของทั้งคนขับและผู้โดยสาร เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทั้งสองฝ่าย ฟีเจอร์ Share My Ride ซึ่งผู้โดยสารสามารถแชร์รายละเอียดการเดินทางให้ครอบครัวหรือเพื่อนได้รับทราบ ทั้งตำแหน่งของรถ เส้นทางการเดินทาง รายละเอียดของคนขับทั้งชื่อ-นามสกุลและภาพถ่าย รวมถึงระยะเวลาโดยประมาณที่ผู้โดยสารจะไปถึงจุดหมาย หรือปุ่มขอความช่วยเหลือเพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน

นอกจากนี้ ยังมี Call Center ที่คอยให้ความช่วยเหลือทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญแกร็บยังได้ทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่คุ้มครองทั้งผู้โดยสารและคนขับในทุกเที่ยวการเดินทาง โดยมีวงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 100,000 บาทในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงทุนประกันชีวิตสูงสุดถึง 200,000 บาท

- 2020 01 22 21 23 06 - ภาพที่ 5

ใครๆ ก็ขับ “แกร็บ” ได้ เปิดช่องให้เกิดอาชญากรรม?

ถึงแม้ว่าแกร็บจะเปิดโอกาสให้คนที่มีรถยนต์ส่วนบุคคลสามารถหารายได้เสริมจากการให้บริการรับส่งผู้โดยสารโดยเรียกผ่านแอป แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถขับแกร็บได้ คนที่จะมาเป็นพาร์ทเนอร์ของแกร็บจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองที่เข้มงวด

โดยมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมย้อนหลังถึง 7 ปี หากพบประวัติเคยกระทำความผิดทางกฎหมายใดๆ ก็จะไม่สามารถให้บริการได้ เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วคนขับจะต้องผ่านการอบรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคในการรับงาน มารยาทในการให้บริการ มาตรความปลอดภัยด้วย รวมทั้งมีการกำหนดหลักปฏิบัติและจรรยาบรรณเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานให้กับคนขับทุกคน

นอกจากนี้ แกร็บยังรับฟังความคิดเห็นของผู้โดยสารเพื่อพร้อมปรับปรุงการให้บริการอยู่เสมอ โดยมีระบบการให้คะแนนหลังการเดินทาง ซึ่งถือเป็นการประเมินผลการให้บริการของคนขับไปในตัวโดยจะส่งผลต่อค่าตอบแทน โบนัสและสิทธิประโยชน์อื่นๆ และในกรณีที่คนขับกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนข้อบังคับต่างๆ แกร็บมีระบบแบนคนขับหรือการระงับสัญญาณการให้บริการในระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยแกร็บพร้อมให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในด้านข้อมูลของคนขับเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวน

- 2020 01 22 21 23 18 - ภาพที่ 7

“แกร็บ” เอาเปรียบคนขับ ทำนาบนหลังคน?

บางคนคิดว่าแกร็บเอาเปรียบคนขับจากการหักเปอร์เซ็นต์ค่าบริการ โดยอาจไม่ทราบว่าอันที่จริงแล้วแกร็บให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนขับมาตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์คนขับนับแสนคนที่ใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันแกร็บในการสร้างรายได้จากอาชีพอิสระ

โดยนอกจากค่าโดยสารแล้ว คนขับแกร็บยังได้รับผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ อย่างเช่น โบนัส อินเซนทีฟ หรือส่วนลดค่าคอมมิชชัน นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ การผ่อนชำระสินค้ารายวัน การให้สินเชื่อ ส่วนลดจากพันธมิตร ทั้งบริการที่เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถ น้ำมัน อาหาร ท่องเที่ยว รวมถึงการจัดกิจกรรมพิเศษและคอร์สอบรมต่างๆ ทุกเดือนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะให้กับคนขับ

นอกเหนือจากคนขับแล้ว แกร็บยังดูแลไปถึงครอบครัวด้วย โดยหนึ่งในโครงการสำคัญที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2561 คือ Grab The Future เพื่อมอบทุนการศึกษาให้กับบุตรของพาร์ทเนอร์คนขับ โดยปัจจุบันแกร็บมอบทุนไปแล้ว 4 ล้านบาท ครอบคลุม 700 ครอบครัว

- 2020 01 22 21 23 28 - ภาพที่ 9

คนขับ “แกร็บ” แย่งงานแท็กซี่?

หลายคนคิดว่าบริการการเดินทางของแกร็บมีเฉพาะที่เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังมีคนขับแท็กซี่ที่เห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีในการหาผู้โดยสารอยู่บนแพลตฟอร์มของแกร็บอีกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน มีคนขับรถแท็กซี่หลายหมื่นคนที่รับงานผ่านแอปพลิเคชันแกร็บ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้โดยสาร จากเดิมที่ต้องรอผู้โดยสารที่โบกเรียกตามท้องถนนเพียงอย่างเดียว

- 2020 01 22 21 23 41 - ภาพที่ 11

จากผลวิจัยของศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของคนขับแท็กซี่เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า 99% ของคนขับแท็กซี่บอกว่าแอปพลิเคชันเรียกรถช่วยให้เข้าถึงผู้โดยสารและทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีของแกร็บทำให้คนขับทราบจุดหมายปลายทางของผู้โดยสารล่วงหน้าทำให้แมตช์กับเส้นทางที่คนขับสะดวกเดินทาง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสาร มีระบบ GPS ที่ช่วยแนะนำเส้นทาง ทั้งยังมีฟีเจอร์แปลภาษาที่ช่วยให้คนขับสามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้

- INFOGRAPHIC GRAB 02 - ภาพที่ 13