ทำความรู้จักเลข ISBN ในหนังสือ และวิธีการขอ

pexels pixabay 159711 1

การทำหนังสือ 1 เล่ม ต้องผ่านกระบวนการ และขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่การวางโครงเรื่อง การเขียน จนไปถึงการเลือกกระดาษ การเข้าเล่ม และรวมไปถึงการขอเลข ISBN หลังหนังสือ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า เลข ISBN คืออะไร ในบทความนี้เราก็จะพาไปทำความรู้จัก และวิธีการขอ ISBN กันค่ะ และสำหรับใครที่อยากทำหนังสือของตัวเองไปขาย ก็สามารถติดต่อกับ ThaiDigitalPrint.com ซึ่งรับพิมพ์หนังสือ ทุกรูปแบบ ทุกประเภทเลยค่ะ

ทำความรู้จักเลข ISBN ในหนังสือ และวิธีการขอ

เลข ISBN คืออะไร ?

ISBN ย่อมาจาก International Standard Book Number หมายถึง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ เป็นรหัสที่กำหนดขึ้นให้ใช้กับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือทั่วไป เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือแต่ละชื่อเรื่อง และเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมข้อมูลสิ่งพิมพ์ในด้านการสั่งซื้อ การแลกเปลี่ยน การบริการ ทั้งนี้เมื่อกำหนดให้หนังสือใดไปแล้ว ห้ามนำกลับมาใช้ซ้ำอีกโดยเด็ดขาด

ISBN 01

ขอบคุณรูปภาพจาก https://th.wikipedia.org/

เลข ISBN ประกอบด้วยเลข 13 หลัก แบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 รหัส EAN เลข 3 หลักแรก เป็นรหัสบาร์โค้ดแสดงสินค้า/ผลิตภัณฑ์
  • ส่วนที่ 2 รหัสกลุ่มประเทศ (Group Identifier)
  • ส่วนที่ 3 รหัสสำนักพิมพ์ (Publisher Identifier)
  • ส่วนที่ 4 รหัสชื่อเรื่อง (Title Identifier) เป็นลำดับของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตจากสำนักพิมพ์นั้น ๆ
  • ส่วนที่ 5 เลขตรวจสอบ (Check Digit) ที่ได้จากการคำนวณเลขตรวจสอบตามหลักการของ Modulus 10 และต้องปรากฏคำว่าเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ หรือ ตัวอักษร ISBN นำหน้าทุกครั้งเมื่อมีการตีพิมพ์

ISBN 06

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.behance.net/

สิ่งพิมพ์ที่สามารถออกเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) 

  1. หนังสือ
  2. จุลสาร
  3. สิ่งพิมพ์อักษรเบรลล์
  4. สิ่งพิมพ์ที่สำนักพิมพ์ไม่มีการปรับปรุงประจำหรือดำเนินการอยู่เรื่อยๆ
  5. หนังสือเสียง
  6. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  7. ไฟล์สำเนาของหนังสือในรูปแบบดิจิทัลที่อยู่ในกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
  8. สิ่งพิมพ์ในรูปวัสดุย่อส่วน
  9. ซอฟต์แวร์ทางการศึกษา หรือการเรียนการสอน ภาพยนตร์ วิดีโอ แผ่นใส
  10. สิ่งพิมพ์สื่อผสมที่ประกอบด้วยเนื้อหาเป็นส่วนใหญ่ เช่น หนังสือ พร้อมซีดี หรือหนังสือพร้อมดีวีดี
  11. สิ่งพิมพ์ที่รวมบทความของผู้แต่งคนเดียว หรือบทความที่มีการพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์
  12. หนังสือแสดงงานศิลปะและหนังสือภาพ ซึ่งมีหน้าปกใน และ/หรือมีเนื้อหา หรือคำอธิบาย
  13. แอปพลิเคชันหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเนื้อหามีความสำคัญ และมีลักษณะคล้ายหนังสือ และเผยแพร่สู่สาธารณะ ทั้งนี้ ให้หมายถึงรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียงแผนที่แผ่น และแผนที่เล่ม

ISBN 03

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.behance.net/

วิธีการขอเลข ISBN

การขอรับบริการเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) นั้น จะต้องดำเนินการสมัครสมาชิก และรออนุมัติเสียก่อน จึงจะสามารถใช้บริการดังกล่าวผ่านเว็บไซต์ “ระบบจดแจ้งการพิมพ์ / ISSN / ISBN / CIP สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร” หรือ https://e-service.nlt.go.th ซึ่งสามารถติดต่อขอใช้บริการ และสมัครด้วยตนเองได้ ดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์สำนักหอสมุดแห่งชาติ http://www.e-service.nlt.go.th

2. เลือก สมัครสมาชิก และกรอกข้อมูลรายละเอียดให้เรียบร้อย เพื่อยืนยันตัวตน และรออนุมัติ

3. เตรียมไฟล์เอกสารที่จำเป็นต่อการขอ ISBN ซึ่งรูปแบบไฟล์นั้น สามารถแนบได้ gif, jpeg, jpg, png, bmp และ pdf โดยที่ขนาดไฟล์อยู่ระหว่าง 2 – 4 MB เท่านั้น ซึ่งไฟล์เอกสารที่จำเป็นต่อการขอ ISBN ได้แก่

  • หน้าปก และ หน้าปกใน (Cover and Title page)
  • หน้าลิขสิทธิ์ (Content page)
  • สารบัญ (Copyright page) เพื่อใช้ประกอบการขอเลข ISBN ต่อไป

4. เมื่อได้รับการอนุมัติ การขอเลข ISBN นั้น ให้เลือกที่เมนู “บริการคำร้อง” > คำร้องขอ ISBN > ขอเลข ISBN คำร้องขอเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) (REQUESTION FOR ISBN) > กดปุ่ม “ยื่นคำร้องใหม่” ซึ่งจะมีการดำเนินการ 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 กรอกแบบคำร้อง (Data Input) ขั้นที่ 2 ตรวจสอบ (Editing) ขั้นที่ 3 ส่งแนบไฟล์ (Attachment) และขั้นที่ 4 บันทึกคำร้อง (Save)

5. หลังจากที่สำนักหอสมุดแห่งชาติได้ดำเนินการออกเลข ISBN ให้กับผู้ขอใช้บริการเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้บริการจะต้องจัดส่งหนังสือที่ได้รับเลข ISBN และจัดพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ชื่อเรื่องละ 2 เล่ม หรือแจ้ง URL ที่ใช้เผยแพร่ในกรณีที่เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) ให้กับสำนักหอสมุดแห่งชาติ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เผยแพร่หนังสือดังกล่าว เพื่อรวบรวม และจัดเก็บเป็นประวัติการพิมพ์ของชาติต่อไป

ISBN 04

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.freepik.com/

เลข ISBN เป็นเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่าง เพราะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหนังสือแต่ละเรื่อง ช่วยอำนวยความสะดวก ความรวดเร็วในการค้นหาหนังสือ และช่วยควบคุมความถูกต้องของข้อมูลสิ่งพิมพ์ในด้านการสั่งซื้อหรือการแลกเปลี่ยน ซึ่งวิธีการขอเลข ISBN สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ ด้านบนได้เลยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก https://e-service.nlt.go.th/ และ https://www.thailibrary.in.th/