ทำความรู้จักกับ “เครียดลงกระเพาะ” อันตรายไหม? มาหาคำตอบกัน

เครียดลงกระเพาะ

ความเครียด หรือการวิตกกังวลจากการคิดมาก นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงทางด้านจิตใจแล้ว ยังส่งผลเสียไปถึงสุขภาพหรือระบบการทำงานของร่างกายด้วยเช่นกัน โดยปัญหาสุขภาพที่หลายคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวออฟฟิศหรือมนุษย์เงินเดือนรู้จักกันดีก็คือ “เครียดลงกระเพาะ” นั่นเอง

sick woman having stomachache living room

ทำความรู้จัก “เครียดลงกระเพาะ”

โรคเครียดลงกระเพาะโดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดกับผู้ที่มีอายุในช่วง 18-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มักจะเกิดความเครียดได้ง่าย หรือมีภาวะเครียดสะสมจากสิ่งที่ต้องพบเจอในแต่ละวัน ซึ่งความเครียดหรือภาวะเครียดสะสมที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วันจะเป็นตัวกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะกำเริบ และจะส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติตามไปด้วย

“เครียดลงกระเพาะ” เกิดจากอะไร?

  • ระบบประสาทอัตโนมัติไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน
  • ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนเร่งปฏิกิริยาการเผาผลาญอาหารออกมามาก ส่งผลให้รู้สึกหิวและนอนไม่หลับ
  • เมื่อเกิดความเครียด การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้จะหยุดชะงักลง

“เครียดลงกระเพาะ” อาการเป็นยังไง?

  • ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ตอนท้องว่าง
  • แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย ท้องผูก
  • แน่นท้อง ท้องอืด เรอเหม็นเปรี้ยว
  • นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท

woman sitting bed with abdominal pain pressing her hand her stomach

“เครียดลงกระเพาะ” รักษายังไง?

โรคเครียดลงกระเพาะสามารถรักษาให้หายได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต รู้จักรับมือกับความเครียดในแต่ละวัน หากมีภาวะเครียดสะสมแนะนำให้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย หรือทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำอาหาร ออกกำลังกาย ทำสมาธิ หลีกเลี่ยงผู้คนหรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด หรือสามารถป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะได้ด้วยวิธีเบื้องต้นดังนี้

  • ทานอาหารให้ตรงเวลา
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
  • ไม่ทานของมัน ของทอด
  • งดแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หาวิธีผ่อนคลายเมื่อเกิดความเครียด

โรคเครียดลงกระเพาะไม่ใช่โรคที่อันตรายอย่างที่คิด เมื่อเกิดความเครียด หรือหากมีภาวะเครียดสะสม เราสามารถจัดการหรือรับมือกับความเครียดนั้นได้ด้วยตัวเอง ด้วยการหาวิธีที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด แต่หากอาการเครียดลงกระเพาะยังไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยแพทย์จะหาสาเหตุและให้การรักษาที่ถูกวิธี ป้องกันอาการเครียดลงกระเพาะที่หากปล่อยไว้อาจรุนแรงและเป็นอันตรายได้

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

sikarin.com, pobpad.com, freepik.com